realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

แผนประมูลโครงการคมนาคม

11 Feb 2016 25.7K

แผนประมูลโครงการคมนาคม

11 Feb 2016 25.7K
 

แผนประมูลโครงการคมนาคม

ลุ้นประมูลจบปีนี้!

แผนประมูลโครงการคมนาคม 20 โครงการนี้เป็นเมกะโปรเจคที่รัฐบาลเร่งรัดให้มีการลงทุน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตอนนี้พยามยามผลักดันแต่ละโครงการให้คณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณา เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนจัดซื้อจัดจ้าง ประมูลเวนคืนต่อไป และจะได้เริ่มก่อสร้างภายในปี 2559-2560 ซึ่งขั้นตอนหลักๆในปีนี้คือ เร่งประมูลทุกโครงการให้จบภายในปีนี้ (2559) โดยมีมูลค่าเงินลงทุนกว่า 1.79 ล้านล้านบาท หวังช่วยพยุงเศรษฐกิจไทย ไตรมาส 3-4 โดยเริ่มต้นมีการเสนอแนวทางหาเงินก่อสร้างมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-โคราช และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี โดยของบกลาง 4-5 พันล้านมาดำเนินการก่อน จากเดิมที่จะขอเงินกู้จากกระทรวงการคลัง และในเวลาอันใกล้จะเริ่มก่อสร้างรถไฟทางคู่จิระ-ขอนแก่น, มอเตอร์เวย์พัทยา - มาบตาพุด และพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง A ที่ท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากผ่านขั้นตอนการประมูลแล้ว
  ในปี 2559 นี้ มีโครงการลงทุนด้านคมนาคมขนส่งเปิดประมูลรวม 20 โครงการ เพื่อให้ประเทศมีการขนส่งเชื่อมโยงสะดวกไปทั่วภูมิภาค และเปิดเส้นทางเชื่อมระหว่างประเทศเพื่อการค้า โดยมีเงินลงทุนกว่า 1.79 ล้านล้านบาท ประกอบไปด้วย การคมนาคมทางราง 14 โครงการ, ทางถนน 3 โครงการ, ทางน้ำ 2 โครงการ และทางอากาศ 1 โครงการ โดยทั้ง 20 โครงการยังคงดำเนินไปตามแผนงาน แต่อาจจะมีโครงการล่าช้าไปบ้าง โดยรถไฟฟ้าเป็นการพัฒนาก่อสร้างเพื่อแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงกระจายความเจริญของเมืองไปตามแนวรถไฟฟ้า ส่วนเส้นทางรถไฟอื่นๆ รวมถึงเส้นทางมอเตอร์เวย์ ท่าอากาศยาน ท่าเรือ จะเป็นการขนส่งและเชื่อมโยงการค้าระหว่างประเทศให้เดินทางได้ง่าย สะดวกรวดเร็วมากขึ้น

  ตอนนี้กรมทางหลวงเสนอแนวทางหาเงินก่อสร้างมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-โคราชและบางใหญ่-กาญจนบุรี จำนวน 65 สัญญา เงินประมูลเริ่มต้น 4-5 พันล้านบาท โดยจะขออนุมัติจากรัฐบาลให้ใช้งบกลางมาดำเนินการก่อนเพื่อให้โครงการส่วนเซ็นสัญญานั้นเร็วขึ้น และสามารถจบลงได้ภายในปีนี้ อีกทั้งกระทรวงการคลังยังไม่ได้หาเงินกู้ให้ หากรอเงินกู้จะใช้เวลานาน  และในเวลาอันใกล้จะเริ่มก่อสร้างรถไฟทางคู่จิระ-ขอนแก่น, มอเตอร์เวย์พัทยา - มาบตาพุด และพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง A ที่ท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากผ่านการประมูลแล้ว นอกจากนั้นโครงการอื่นที่ต้องการให้ประมูลจบภายในปีนี้ส่วนใหญ่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณา EIA และรอมติเห็นชอบจากคณะ เพื่อดำเนินการเปิดประมูล โดยจะต้องมีการติดตามทุกเดือน เพื่อให้งานดำเนินไปตามแผน และคาดหวังว่าจะเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของปีนี้ในครึ่งปีหลังให้ดีขึ้น  

ข่าวอัพเดทล่าสุด

รฟฟ.สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) อาจจะปรับลดค่าก่อสร้างลงได้อีก ต้องรอการอนุมัติจากครม. รฟฟ.สายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ยังมีปัญหาEIAที่เปลี่ยนแปลงเส้นทางต่อขยายจากราษฎร์บูรณะ-ถ.กาญจนาภิเษก 5 กม. ต้องเสนอให้คณะกรรมการจัดจราจรทางบก และรอการอนุมัติจากคณะอนุกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์ บริเวณสถานีสามยอดและผ่านฟ้าที่อยู่ในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ รฟฟ.สายสีชมพูและรฟฟ.สายเหลือง ได้ส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแล้ว คาดว่าจะประมวลเรื่องเสนอคณะกรรมการนโยบาย PPP และ ครม.เห็นชอบเดือน ก.พ. และเม.ย.นี้จะเริ่มคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน
 
โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงความร่วมมือระหว่างไทย - จีน ยังคงมีประเด็นการลดขนาดโครงการช่วงนครราชสีมา-หนองคายที่ยังต้องหารือกัน จากเดิมที่จะก่อสร้างเป็นรถไฟทางคู่ความเร็วปานกลาง ในรูปแบบรถไฟฟ้าที่ใช้ความเร็วตั้งแต่ 160-180 กม./ชม. แบ่งการก่อสร้างเป็น 4 ช่วง งบ 5 แสนล้านบาท เหลือเป็นรถไฟทางเดี่ยว นั่นก็หมายความว่าขบวนรถไฟในช่วงนี้ไม่สามารถวิ่งสวนทางกันได้ ต้องรอสับหลีกเพื่อให้รถไฟอีกขบวนวิ่งผ่านไปก่อน ซึ่งจะเหมือนกับการให้บริการของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในปัจจุบัน ที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงจากกรุงเทพฯถึงจุดหมายปลายทาง เพราะเป็นรถไฟทางเดี่ยว ซึ่งทำให้ต้องเลื่อนระยะเวลาก่อสร้างออกไป แต่ลดต้นทุนได้ 1.6 แสนล้านบาท
 

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายซึโตะมุ ชิมุระ รองอธิบดี กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ได้เป็นประธานร่วมปล่อยขบวนรถสินค้า ทดลองขนส่งคอนเทนเนอร์ขนาดเล็กขนาด 12 ฟุต ออกจากสถานีชุมทางหนองปลาดุกสู่สถานีบางซื่อ เป็นการนำร่องเส้นทางแนวเศรษฐกิจด้านใต้ (รถไฟกาญจนบุรี-กรุงเทพ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง) อีกทั้งเป็นการแสดงสัญลักษณ์ภายใต้ความร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่นด้านระบบราง 

 
สายพัทยา-มาบตาพุด - ตอนนี้มีการลงนามในสัญญา 5 สัญญา จากทั้งหมดที่มี 13 สัญญา ส่วนอีก 8 สัญญาอยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาหาผู้รับจ้างและเจรจาต่อรองราคา โดยทุกสัญญาจะลงนามได้ประมาณปลายเดือน ก.พ.-ต้นเดือน มี.ค.นี้ ใช้เวลาก่อสร้างได้ในก.พ. 2559 สายบางปะอิน-โคราช - อยู่ระหว่างประกวดราคาในบางช่วงเพื่อเริ่มก่อสร้างก่อน เพราะบางช่วงจะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดเพิ่มเติม สายบางใหญ่-กาญจนบุรี - อยู่ระหว่างทบทวนรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เนื่องจากผลการศึกษาเดิมดำเนินการมาประมาณ 10 ปีที่แล้ว จะต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น คาดว่าจะประกวดราคาได้ในกลางปีนี้
 
โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) - ตั้งอยู่บริเวณแอ่งจอดเรือที่ 1 อยู่ระหว่างท่าเทียบเรือ A1 และ A0 รองรับเรือชายฝั่งขนาดระวางบรรทุก 1,000-3,000 เดทเวทตัน ยกขนตู้สินค้าคราวละ 100-200 เดทเวทตัน รวมทั้งติดตั้งปั้นจั่นหน้าท่าและปั้นจั่นจัดเรียงตู้สินค้า เพื่อให้สามารถรองรับตู้สินค้าได้สูงถึง 3 แสน TEUs ต่อปี ศูนย์ขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ - โครงการมี 2 ระยะ ตอนนี้อยู่ในระยะที่ 1 ตั้งอยู่ระหว่างท่าเทียบเรือชุด B และ C มีพื้นที่ประมาณ 600 ไร่ จะทำการก่อสร้างลานขนถ่ายตู้สินค้าทางรถไฟ โดยติดตั้งปั้นจั่นยกตู้สินค้าคร่อมรางรถไฟ จำนวน 6 ราง เพื่อหลีกเลี่ยงการเคลื่อนขบวนรถไฟในระหว่างการขนถ่ายสินค้า อีกทั้งใช้รถคานเคลื่อนที่ยกตู้สินค้า เพื่อจัดเรียงตู้สินค้าในลานกองเก็บตู้สินค้า ซึ่งจะรองรับปริมาณตู้สินค้าได้จำนวน 2 ล้าน TEUs ต่อปี มีผลทำให้การขนส่งตู้สินค้าจากทางบกมาทางรางเพิ่มขึ้นจากเดิม 7% เป็น 15%
 
ในส่วนของโครงการที่ล่าช้าตอนนี้ คือ โครงการสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 เงินลงทุน 51,607 ล้านบาท แบ่งประมูล 7 สัญญา จะเริ่มมี.ค. 59 จากเดิมคือ พ.ย.-ธ.ค. ปี58 เพราะต้องส่งเอกสารประกวดราคาให้คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) อนุมัติก่อน หากก่อสร้างทุกส่วนในเฟส 2 แล้วเสร็จในปี 2560-2563 จะทำให้รองรับผู้โดยเพิ่มอีก 15 ล้านคน คาดรองในอนาคตสามารถรับผู้โดยสารสูงถึง 85 ล้านคน
ที่มาข้อมูล : ประชาชาติธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ และมติชน คลิกรูปภาพเพื่ออ่านบทความที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ

ความคืบหน้ารถไฟฟ้า

รถไฟทางคู่

รถไฟไทย-จีน-ญี่ปุ่น

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

รถไฟฟ้าสายสีชมพู

รถไฟฟ้าสายสีส้ม

 

แผนประมูลโครงการคมนาคม

Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon