realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

โครงการผลิตน้ำประปาจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน

04 Mar 2014 1.4K

โครงการผลิตน้ำประปาจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน

04 Mar 2014 1.4K
 

3 แสนล้าน แก้น้ำเค็ม น้ำแล้ง

 

[wc_highlight color="blue"]ชง 3 แสนล้านแก้แล้ง-ประปาเค็ม เวนคืน 2.5 หมื่นไร่ กทม.ถึงชัยนาท

  แก้ปัญหาน้ำเค็ม-ภัยแล้ง "กปน." สบช่องเตรียมเสนอรัฐบาลใหม่ ปัดฝุ่นเมกะโปรเจ็กต์น้ำประปา 3 แสนล้าน สร้างโรงงานดึงน้ำดิบจากเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เตรียมที่ดิน 2.5 หมื่นไร่วางท่อ200 กิโลเมตร ป้อนน้ำประปาคนกรุงและโรงงานอุตสาห-กรรมในนิคมมาบตาพุด เตรียมเสนอบอร์ดมีนาคมนี้ นายสมัย อนุวัตรเกษม ประธานคณะกรรมการการประปานครหลวง (กปน.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงที่สร้างผลกระทบต่อระบบผลิตน้ำประปาในเขตพื้นที่บริการน้ำ 3 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นนทบุรี และมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นทุกปี ซึ่งปีนี้ปัญหาเกิดเร็วขึ้น ทั้งระดับความเค็มของน้ำก็สูงขึ้น 7-8 เท่าตัว ดังนั้นบอร์ด กปน.เตรียมหารืออนุมัติหลักการโครงการรองรับระยะยาว จากนั้นจะได้มอบหมายให้ กปน.ไปศึกษารายละเอียด เพื่อเตรียมเสนอรัฐบาลใหม่พิจารณา ประเมินเบื้องต้นคงต้องลงทุนถึง 2-3 แสนล้านบาท

สร้างอุโมงค์ผันน้ำดิบ

เพื่อเร่งแก้ปัญหาน้ำทะเลหนุนสูง ตามแผนจะมี 2 โครงการ คือ 1.สร้างอุโมงค์ผันน้ำดิบจากลุ่มน้ำแม่กลอง ซึ่งมีคุณภาพน้ำดีที่สุดในประเทศไทย และไม่มีปัญหาน้ำทะเลหนุนเพราะอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ปัจจุบันมีการผันน้ำผ่านระบบคลองธรรมชาติระยะทาง 127 กม. แต่ระหว่างทางจะมีเกษตรกรดึงน้ำออกไปใช้บางส่วน ทำให้เหลือเข้าระบบประปาเพียง 25-30% การสร้างอุโมงค์จะช่วยผันน้ำให้กับประปาโดยเฉพาะ คาดว่าใช้เงินลงทุน 1-1.5 หมื่นล้านบาท "ทุกวันนี้เวลามีปัญหาน้ำเค็ม เราจะใช้วิธีน้ำไล่น้ำ ใช้น้ำจืดมาไล่น้ำเค็ม ผันน้ำโดยใช้คลองธรรมชาติ ซึ่งรับน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองจากต้นทางที่ 2 เขื่อนหลักคือ เขื่อนศรีนครินทร์กับเขื่อนวชิราลงกรณ์ ผ่านคลองจรเข้สามพัน คลองสองพี่น้อง มาทางแม่น้ำท่าจีน สูบขึ้นมาทางคลองพระยาบันลือ แล้วมาลงแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางไทร อีกสายหนึ่งคือผันน้ำมาทางฝั่งธนฯ รับจากลุ่มน้ำแม่กลองเหมือนกัน ผันน้ำมาทางคลองปลายบางผ่านคลองมหาสวัสดิ์ คลองบางกอกน้อยมาลงเจ้าพระยา" นายสมัยกล่าวและว่า เบื้องต้นจะศึกษาแนวทางสร้างอุโมงค์ เพื่อนำน้ำจากแม่กลองมาช่วยฝั่งเจ้าพระยา เป็นการผันน้ำเข้าระบบประปา เนื่องจากเป็นแผนเร่งด่วนจึงใช้วิธีบรรจุเป็นแผนลงทุนในโครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลักครั้งที่ 9 (แผน 9) ส่วนแนวเส้นทางจะต้องศึกษาใหม่ เน้นให้มีการลงทุนน้อยที่สุด อาจจะผันน้ำมาที่โรงผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ จากนั้นวางแนวท่อตามถนนกาญจนาภิเษกมาเข้าคลองประปา เพื่อป้อนน้ำให้กับโรงผลิตน้ำบางเขนที่มีระยะทางสั้นที่สุด

สร้างโรงผลิตน้ำ "ชัยนาท"

ส่วนโครงการที่ 2 คือ การผลิตน้ำประปาจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนที่ จ.ชัยนาท ตามแผนจะต้องตั้งโรงผลิตน้ำขนาดใหญ่ กำลังผลิตวันละ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) โดยใช้น้ำดิบจากเขื่อนเจ้าพระยา พร้อมกับสร้างอุโมงค์ระยะทางกว่า 200 กม. เพื่อส่งน้ำมาเสริมกับกำลังผลิตของ กปน.ที่มีโรงผลิตน้ำ 4 แห่ง กำลังผลิตรวมวันละ 5.9 ล้าน ลบ.ม. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้นอกจากแก้ปัญหาน้ำเค็มอย่างถาวรแล้ว ยังสามารถป้อนน้ำประปาให้กับพื้นที่ภาคตะวันออกผ่านระบบของการประปาส่วนภูมิภาค และป้อนน้ำประปาให้กับองค์กรส่วนท้องถิ่นตามเส้นทางได้ด้วย ทั้งนี้ โครงการผลิตน้ำประปาจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน เป็นแผนงานเดิมที่เคยศึกษาลงลึกในรายละเอียดเสร็จแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 หลังจากเกิดน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯช่วงปลายปี 2554 ซึ่ง กปน.เห็นความจำเป็นที่จะต้องมีระบบผลิตและจ่ายน้ำประปาที่มีเสถียรภาพ เพื่อป้อนให้กับผู้ใช้น้ำได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาน้ำท่วมและน้ำเค็มหนุนสูงอีกต่อไป

ลงทุนเบื้องต้น 3 แสนล้าน

รายละเอียดโรงผลิตน้ำที่ จ.ชัยนาท ตามแผนศึกษาจะออกแบบเป็น 3 ระยะ ทั้งโครงการจะแล้วเสร็จภายใน 15 ปี ประกอบด้วย ระยะที่ 1 (แผนปีที่ 1-5) ต้องจัดเตรียมที่ดิน 2.5 หมื่นไร่ เพื่อสร้าง Intake Plant, Service Reservoir สำหรับวางท่อส่งน้ำและสถานีสูบจ่ายน้ำ นอกจากนี้ ยังต้องก่อสร้างอีก 8 รายการ อาทิ ระบบน้ำดิบและผลิตน้ำ งานขุดคลองส่งน้ำ ค่าสถานีสูบจ่ายน้ำ 5 แห่ง ใน 5 จังหวัด งานดันระบส่งน้ำ ท่อส่งน้ำ งานอุปกรณ์เครื่องจักรกลและระบบไฟฟ้า ฯลฯ วงเงินรวม 218,266 ล้านบาทระยะที่ 2 (แผนปีที่ 6-10) เนื้องานจะเป็นค่าก่อสร้าง 3 รายการหลัก คือระบบน้ำดิบและผลิตน้ำ งานอุปกรณ์เครื่องจักรกลและระบบไฟฟ้า งานวางระบบส่งน้ำ ท่อส่งน้ำ รวมวงเงิน 45,550 ล้านบาท ส่วนแผนงานระยะที่ 3 (ปีที่ 11-15) จะต้องจัดเตรียมที่ดินเพื่อวางท่อส่งน้ำและจัดตั้งสถานีสูบจ่ายน้ำย่อย วงเงิน 10,781 ล้านบาท กับงานก่อสร้าง 5 รายการหลัก คือสร้างระบบน้ำดิบและผลิตน้ำ งานอุปกรณ์เครื่องจักรกลและระบบงานไฟฟ้า งานวางระบบและท่อส่งน้ำงานก่อสร้างสถานีสูบส่งน้ำบางบ่อและมาบตาพุด รวมวงเงิน 39,091 ล้านบาท

ชงเรื่องหารือพันธมิตร มี.ค.นี้

ประธานบอร์ด กปน.กล่าวอีกว่า การลงทุนเมกะโปรเจ็กต์น้ำประปาครั้งนี้มีมูลค่าสูง แต่จะมีความคุ้มค่าเพราะสามารถรองรับความต้องการใช้น้ำได้ 50-100 ปีข้างหน้า และป้อนน้ำประปาให้กับพื้นที่บริการได้เพิ่มขึ้น โดยขายน้ำให้กับการประปาส่วนภูมิภาคหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในราคาพิเศษ เพื่อส่งต่อให้กับประชาชนในพื้นที่ต่างจังหวัด นอกจากนี้ กปน.ยังออกแบบโครงการรองรับผู้ใช้น้ำในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมเขตภาคตะวันออกด้วย โดยเฉพาะกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม เพราะทุกปีจะมีปัญหาแย่งน้ำใช้ระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับภาคเกษตรในช่วงภัยแล้ง โดยจะมีการก่อสร้างสถานีสูบส่งน้ำที่มาบตาพุดบรรจุไว้ในแผนด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ แนวทางการผลักดันจึงต้องมีการนำเสนอทางกระทรวงมหาดไทยให้เห็นความสำคัญและยกระดับเป็นโครงการกิจการประปาระดับชาติ พร้อมประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมชลประทาน สถาบันน้ำเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การประปาส่วนภูมิภาค หน่วยงานท้องถิ่น ฯลฯ ที่อาจจะต้องลงทุนร่วมกัน คาดว่าจะนำเสนอเพื่อหารือภายในเดือนมีนาคมนี้ จากเดิมที่รอเข้าร่วมลงทุนในโครงการน้ำตามแผนลงทุน 3.5 แสนล้านบาท แต่โครงการเกิดการชะลอไม่มีกำหนด กปน.จึงตัดสินใจเดินหน้าลงทุนด้วยตัวเอง "กปน.เป็นองค์กรที่ผลิตและใช้น้ำประปามากที่สุด เราป้อนผู้ใช้น้ำวันละ 10 ล้านราย เราจึงมีศักยภาพและเป็นผู้ริเริ่มโครงการขึ้นมา จากการหารือกับหน่วยงาน และระดับนโยบายส่วนใหญ่เห็นด้วย เพราะกิจการประปาของประเทศไทยถึงเวลาแล้วที่จะต้องให้มีหน่วยงานบริหารเรื่องน้ำดิบ เพื่อป้อนให้กับกิจการประปาโดยเฉพาะ โดยแยกออกมาจากการบริหารน้ำดิบที่ป้อนให้กับภาคเกษตรอยู่ทุกวันนี้ เพราะมีปัญหาก็ไม่สามารถควบคุมคุณภาพน้ำดิบได้"นายสมัยกล่าว นายธนศักดิ์ วัฒนฐานะ ผู้ว่าการ การประปานครหลวง กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" เพิ่มเติมว่า การแก้ปัญหาระบบน้ำประปาในระยะยาว จะต้องมองเป็นวาระแห่งชาติ ต้องมองเป็นปัญหาของประเทศ ซึ่งเราต้องประสบ้ำท่วมกับภัยแล้งอยู่ทุกปี ในส่วนของ กปน. การแก้ปัญหาระยะสั้นเตรียมวางแผนเพื่อนำน้ำต้นทุนจากฝั่งตะวันตก (ลุ่มน้ำแม่กลอง) มาช่วยฝั่งตะวันออก (ลุ่มเจ้าพระยา) เพราะมีปริมาณน้ำเหลือปีละกว่า 1,000 ล้าน ลบ.ม. ส่วนแนวทางแก้ปัญหาระยะยาวคงต้องมาดูว่าน้ำท่วมจะแก้ปัญหาอย่างไร กับภัยแล้งจะแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อระบบผลิตน้ำประปาอย่างไร โดยการลงทุนจะต้องทำให้คุ้มไปอีกเป็น 50 ปีจนถึง 100 ปีข้างหน้า ที่มาข้อมูล ประชาชาติธุรกิจ 27 กพ. - 2 มี.ค. 57  

[wc_highlight color="blue"]สร้างโรงผลิตน้ำที่จ.ชัยนาท

- เพื่อแก้ปัญหาน้ำเค็มถาวร + ภัยแล้ง + รองรับการใช้น้ำได้ 50-100 ปี - น้ำทะเลหนุนสูงกระทบการผลิตน้ำต่อ กรุงเทพฯ+สมุทรปราการ+นนทบุรี - ปีนี้ปัญหาน้ำเค็มมาเร็วขึ้น และระดับความเค็มสูงขึ้น 7-8 เท่าตัว - แผนคือ การสร้างโรงผลิตน้ำที่ จ.ชัยนาท กำลังผลิตวันละ 2 ล้านลบ.ม. แล้วเสร็จภายใน 15 ปี ต้องเวนคืน ที่จากชัยนาทถึงกรุงเทพฯ 2.5 หมื่นไร่ เพื่อวางท่อส่งน้ำและสถานีสูบจ่ายน้ำ Infographic : Prachachat (27 Feb - 2 March 2014)  

[wc_highlight color="blue"]โรงผลิตน้ำในปัจจุบัน

Image : แผนที่แหล่งน้ำและโรงผลิตน้ำ, MWA
โรงผลิตน้ำธนบุรี - ใช้น้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยา ส่งผ่านคลองประปาตะวันออกจนถึงหน้าโรงสูบน้ำดิบบางซื่อ ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร แล้วสูบส่งผ่านท่อน้ำดิบขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 900 มิลลิเมตร เข้าสู่โรงงานผลิตน้ำ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ผลิตน้ำได้วันละประมาณ 170,000 ลูกบาศก์เมตร โรงผลิตน้ำบางเขน - ใช้น้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยา ส่งผ่านคลองประปาตะวันออกจนถึงโรงงานผลิตน้ำ ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร ผลิตน้ำได้วันละประมาณ 3,600,000 ลูกบาศก์เมตร โรงผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ - ใช้น้ำดิบจากแม่น้ำแม่กลอง บริเวณเหนือเขื่อนแม่กลอง ส่งผ่านคลองประปาตะวันตกระยะ 2 และ ระยะ 1 จนถึงโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ ระยะทางประมาณ 107 กิโลเมตร ผลิตน้ำได้วันละประมาณ 800,000 ลูกบาศก์เมตร โรงผลิตน้ำสามเสน - ใช้น้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยา ส่งผ่านคลองประปาตะวันออกจนถึงโรงงานผลิตน้ำ ระยะทางประมาณ 31 กิโลเมตร ผลิตน้ำได้วันละประมาณ 700,000 ลูกบาศก์เมตร Info : MWA
Image : โรงผลิตน้ำธนบุรี, MWA
Image : โรงผลิตน้ำบางเขน, MWA
Image : โรงผลิตน้ำมหาสวัสดิ์, MWA
Image : โรงผลิตน้ำสามเสน, MWA
 
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (387)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon