realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (393)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (55)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (182)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (19)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (393)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (55)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (182)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (19)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รถไฟความเร็วสูง ไทย-ลาว-จีน

23 Feb 2022 9.3K

รถไฟความเร็วสูง ไทย-ลาว-จีน

23 Feb 2022 9.3K
 
รถไฟความเร็วสูง ไทย-ลาว-จีน เป็นการร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ในการพัฒนาระบบการขนส่งระบบราง ให้สามารถขนส่งสินค้าและผู้คนได้อย่างรวดเร็ว
เส้นทางจะวิ่งจาก กรุงเทพ ที่ สถานีกลางบางซื่อ ไปที่ประเทศลาว และเข้าสู่ประเทศจีน โดยเส้นทางในไทยจะมี 11 สถานี ผ่าน 8 จังหวัด ระยะทางทั้งหมด 606 กม.
การพัฒนาโครงการจะแบ่งการดูแลเป็น ฝ่ายไทย จะดำเนินการก่อสร้างและออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมด เป็นเงินมูลค่า 405,700 ลบ. ส่วนฝ่ายจีนจะเข้ามาดูแลในเรื่องการออกแบบและวางระบบรถไฟความเร็วสูง
รถไฟความเร็วสูงในไทยได้มีการเริ่มดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว และคาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งโครงการในปี 2572
โดยถ้าหากโครงการแล้วเสร็จ ไทยจะได้รับประโยชน์ในการส่งออกและนำเข้าสินค้าได้อย่างรวดเร็ว เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และยังเป็นการกระจายการพัฒนาไปตามสถานีรถไฟความเร็วสูงด้วย

รถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย

ในประเทศไทย รถไฟความเร็วสูงสาย ไทย-จีน จะวิ่งจาก "สถานีกลางบางซื่อ" ไป "หนองคาย" โดยจะถูกแบ่งเป็น 2 ช่วง ตามการก่อสร้าง
ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ - นครราชสีมา
เป็นช่วงการก่อสร้างในระยะที่ 1 แบ่งเป็น 6 สถานี เชื่อมจาก กรุงเทพ ไป นครราชศรีมา โดยในปัจจุบันมีการเริ่มการก่อสร้างไปแล้ว ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 179,400 ลบ. ระยะทางรวม 250 กม. มีโครงสร้างเป็นทางยกระดับ 181.9 กม. ระดับพื้น 64 กม. และอุโมงค์ 6.4 กม. วิ่งผ่าน บางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ปากช่อง และนครราชสีมา ที่เป็นสถานีปลายทางในระยะที่ 1 คาดว่าจะสามารถเปิดให้ได้ใช้บริการได้ในปี 2569
ช่วงที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย
เป็นช่วงการก่อสร้างในระยะที่ 2 แบ่งเป็น 5 สถานี ต่อจาก นครราชสีมา ไปยัง หนองคาย โดยมีกำหนดในการเริ่มการก่อสร้างในช่วงปี 2566 และคาดว่าแล้วเสร็จในช่วงปี 2572 ใช้เงินลงทุนกว่า 226,300 ลบ. ระยะทาง 356 กม.
เมื่อรถไฟความเร็วสูงสร้างเสร็จ จะช่วยร่นระยะเวลาในการเดินทางได้ โดย จากกรุงเทพไปนครราชสีมาจะใช้เวลาเพียง 1.30 ชม. และใช้เวลา 3.15 ชม. จากกรุงเทพไปหนองคาย

สัญญาการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง

การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในระยะที่ 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา มีการแบ่งช่วงการก่อสร้างออกเป็น 14 ช่วง 14 สัญญา โดยจะเปิดให้ผู้รับเหมาแต่ละเจ้าประกวดราคากัน เพื่อหาผู้รับเหมาที่ให้ราคาต่ำที่สุด โดยแต่ละสัญญา มีรายละเอียดดังนี้
  • สัญญา 1-1 งานก่อสร้างคันทางระดับดิน ช่วงกลางดง - ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. รับผิดชอบการก่อสร้างโดย กรมทางหลวง สัญญานี้มีการก่อสร้างงานโยฐาแล้วเสร็จแล้ว
  • สัญญา 2-1 งานก่อสร้างคันทางระดับดิน ช่วงสีคิ้ว - กุดจิก ระยะทาง 11 กม. บจ. ซีวิลเอ็นจิเนียริง เป็นผู้รับผิดชอบในการก่อสร้าง
  • สัญญา 3-1 งานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ ช่วงแก่งคอย - กลางดง และปางอโศก - บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. รับผิดชอบการก่อสร้างโดย อิตาเลียน-ไทย ที่ร่วมทุนกับ CREC จากจีน
  • สัญญา 3-2 งานก่อสร้างอุโมงค์ลอดภูเขา ช่วงมวกเหล็ก - ลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. ก่อสร้างโดย บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ
  • สัญญา 3-3 งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงบันไดม้า - ลำตะคอง ระยะทาง 26.10 กม. ก่อสร้างโดย บจ.กรุงธน เอ็นจิเนียริ่ง
  • สัญญา 3-4 งานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ ช่วงลำตะคอง - สีคิ้ว และกุดจิก - โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. ก่อสร้างโดย อิตาเลียน-ไทย
  • สัญญา 3-5 งานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ ช่วงโคกกรวด - นครราชสีมา ระยะทาง 13.69 กม. รวมงานก่อสร้างสถานีนครราชสีมา ที่ดูแลโดย กลุ่มบริษัท SPTK
  • สัญญา 4-1 งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงสถานีกลางบางซื่อ - ท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะทาง 11.83 กม. รวมงานปรับปรุงและเชื่อมต่อสถานีท่าอากาศยานดอนเมือง ที่บริเวณนี้จะเป็นจุดร่วมของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินด้วย ที่ก่อสร้างโดย อิตาเลียน-ไทย
  • สัญญา 4-2 งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงดอนเมือง - นวนคร ระยะทาง 21.80 กม. ก่อสร้างโดย ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง
  • สัญญา 4-3 งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงนวนคร - บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. รับผิดชอบการก่อสร้างโดย เนาวรัตน์พัฒนาการ ที่ร่วมทุนกับ ไชน่าสเตทคอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง
  • สัญญา 4-4 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ก่อสร้างโดย อิตาเลียน-ไทย
  • สัญญา 4-5 งานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ ช่วงบ้านโพ - พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. รวมงานก่อสร้างสถานีอยุธยา ที่รับผิดชอบการก่อสร้างโดย อิตาเลียน-ไทย แต่โครงการยังอยู่ในขั้นตอนของการยื่น ผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment : HIA)
  • สัญญา 4-6 งานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ ช่วงพระแก้ว - สระบุรี ระยะทาง 31.6 กม.  ก่อสร้างโดย ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง
  • สัญญา 4-7 งานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ ช่วงสระบุรี - แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. รวมงานก่อสร้างสถานีสระบุรี และปรับปรุงสถานีรถไฟแก่งคอย ก่อสร้างโดย บจ. ซีวิลเอ็นจิเนียริง
โดยสัญญาทั้งหมดเป็นสัญญาที่ก่อสร้างในส่วนงานโยฐา ทางวิ่งรถไฟ และสถานี ไม่รวมการวางระบบรางและรถไฟที่ จีนจะเป็นผู้เข้ามารับดำเนินการต่อ

ขบวนรถไฟความเร็วสูง

รถไฟที่จะนำมาใช้ในโครงการ เป็นรถไฟที่นำเข้ามาจากประเทศจีน รุ่น Fuxing Hao CR300AF
โดยสามารถจุผู้โดยสารได้ 594 ที่นั่ง แบ่งเป็น
  • ชั้นหนึ่ง: 96 ที่นั่ง
  • ชั้นมาตรฐาน: 498 ที่นั่ง
ความเร็วในไทยถูกลิมิตไว้ที่ 250 กม./ชม.
ราคาต่อขบวนอยู่ที่ 1,166 ลบ. ไทยสั่งซื้อไป 6 ขบวน  เพื่อมาใช้ในโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-หนองคาย

สถานีรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1

1.สถานีกลางบางซื่อ

สถานีกลางบางซื่อจะเป็นสถานีแรกของโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยตัวสถานีมีก่อสร้างแล้วเสร็จในส่วนของงานโยฐา รอการวางระบบรถไฟความเร็วสูง
พื้นที่สำหรับรถไฟความเร็วสูงไว้จะอยู่ที่ชั้น 3 ของสถานี ในส่วนของงานก่อสร้างถัดไปคือการทำทางยกระดับเชื่อมไปยังสถานีดอนเมือง ซึ่งเป็นเส้นทางเดียวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

ข้อมูลเพิ่มเติม : สถานีกลางบางซื่อ

2.สถานีดอนเมือง

สถานีดอนเมือง เป็นสถานีที่จะเชื่อมกับสนามบิน โดยในปัจจุบันจะมีสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงอยู่ก่อนแล้ว การก่อสร้างจึงเป็นการต่อเติมจากสถานีเดิมออกมาเป็นอีก 1 สถานี ที่รอบรับรถไฟความเร็วสูง และ ARL ที่จะวิ่งมาเชื่อมกับสนามบินดอนเมือง
นอกจากนี้ยังเป็นสถานีที่เป็นศูนย์รวมของ รถไฟฟ้าชานเมือง ,รถไฟทางไกล ,รถไฟความเร็วสูง และรถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน โดยมีการแบ่งการใช้งานเป็น
  • ชั้นที่ 1 ชั้นจำหน่ายตั๋ว แยก 3 จุด สำหรับแต่ละประเภทรถ
  • ชั้นที่ 2 ชานชาลารถไฟทางไกล และชานชาลารถ ARL
  • ชั้นที่ 3 ชานชาลารถไฟฟ้าชานเมือง และชานชาลารถไฟความเร็วสูง
 

ข้อมูลเพิ่มเติม : สถานีดอนเมือง

3.สถานีอยุธยา

สถานีอยุธยา เป็นสถานีที่สร้างทับสถานีรถไฟอยุธยาเดิม โดยเป็นการสร้างเพื่อรองรับรถไฟทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าสายสีแดงในอนาคต มีการแบ่งการใช้งานภายในสถานีเป็น
  • ชั้นที่ 1 เป็นชานชาลารถไฟทางไกล และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
  • ชั้นที่ 2 เป็นส่วนจำหน่ายตั๋วโดยสารและโถงพักคอย
  • ชั้นที่ 3 เป็นชานชาลารถไฟความเร็วสูง สายอิสาน และ สายเหนือ
โดยในปัจจุบัน ตัวสถานียังไม่มีการกำหนดรูปแบบสถานีที่ชัดเจน เพราะอยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษาผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment : HIA) เนื่องจากตัวสถานีตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ทำให้การก่อสร้างสถานีจะต้องไม่ทำลายเอกลักษณ์ของอยุธยา ทำให้รูปแบบสถานีอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
 

4.สถานีสระบุรี

สถานีสระบุรี จะมีการย้ายตัวสถานีให้ถัดออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสถานีรถไฟเดิม ตั้งอยู่ใกล้กับศาลากลางจังหวัดสระบุรีและถนนทางหลวงหมายเลข 362 ด้านหลังของห้างโรบินสันสระบุรี และใกล้กับอ่างเก็บน้ำคลองเพรียว ตัวสถานีจะรองรับรถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่ในอนาคต ลักษณะสถานี แบ่งเป็น
  • ชั้นที่ 1 ชานชาลารถไฟทางไกล (อนาคต)
  • ชั้นที่ 2 พื้นที่ขายตั๋วและเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร
  • ชั้นที่ 3 พื้นที่รอคอยรถไฟความเร็วสูง
  • ชั้นที่ 4 ชานชาลารถไฟความเร็วสูง
 

5.สถานีปากช่อง

สถานีปากช่อง เป็น 1 ใน 2 สถานีที่อยู่ในจังหวัด นครราชสีมา ตำแหน่งจะอยู่ห่างจากสถานีรถไฟปากช่องเดิมขึ้นไปทางเหนือ อยู่ติดกับถนนทางหลวง 2247 ใกล้กับถนนมิตรภาพ  โดยจะเป็นสถานีที่รองรับทั้งรถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่
 

6.สถานีนครราชสีมา

สถานีนครราชสีมา เป็นสถานีสุดท้ายของโครงการในระยะที่ 1 โดยทำเลจะอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟนครราชสีมาเดิม ภายในอาคารประกอบไปด้วย
  • ชั้นที่ 1 ทางเข้าออกอาคาร และพื้นที่พักคอย
  • ชั้นที่ 2 พื้นที่ขายตั๋วและชานชาลารถไฟทางไกล
  • ชั้นที่ 3 ชานชาลารถไฟความเร็วสูง
 
 
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (393)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (55)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (182)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (19)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon