realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (389)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (389)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

UPDATE!! พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2567

13 Feb 2024 54.1K

UPDATE!! พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2567

13 Feb 2024 54.1K
 

อัพเดต พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 256 เก็บ 100% แล้วนะ !!

“ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 13 มี.ค. 2562 และมีการเริ่มเก็บภาษีไปตั้งแต่ 1 ม.ค. 2563 แต่เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ทางรัฐบาลมีการปรับลดอัตราภาษี มาตั้งแต่ปี 2563 - 2566 ซึ่งมีการลดอัตราภาษีให้ถึง 90% (ในปี 2563 - 2565) นั่นหมายถึงให้เราจ่ายเพียงแค่ 10% และลด 15% ในปี 2566 ที่ผ่านมา
ในในปี 2567 นี้ รัฐบาลมีแนวทางการเก็บภาษีในอัตราที่จัดเก็บปัจจุบัน โดยจะจัดเก็บเต็ม 100% ไม่มีลดหย่อนให้ เหมือนกับปี 2565 ส่วนไทมน์ไลน์การดำเนินการจ่ายภาษี จะมีดังนี้
  • เมษายน 67 - อปท. แจ้งการประเมินภาษีให้ผู้เสียภาษีรับทราบ
  • มิถุนายน 67 - ผู้เสียภาษีดำเนินการชำระภาษีตามแบบแจ้งประเมิน
ทั้งนี้หากราคาภาษีเกิน 3,000 บาท สามารถขอผ่อนจ่ายได้ 3 งวด (เริ่มงวดที่ 1 เดือน มิ.ย. และสิ้นสุดงวดที่ 3 ก.ค.)
โดยช่องทางการชำระ มีหลายช่องทางดังนี้
  • ชำระที่ อปท. หรือ สำนักงานเขตนั้นๆ
  • หากเป็นในต่างจังหวัดสามารถชำระได้ที่ อปท ไม่ว่าจะ อบต., เทศบาล และ อบจ.
  • หากเป็นพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถไปจ่ายได้ที่สำนักงานเขตที่ดินครับ
  • สามารถชำระผ่านธนาคาร ก็ได้เช่นกัน
  • ผ่านตู้ ATM และเคาน์เตอร์ ของธนาคารกรุงไทยทุกสาขา
  • ชำระผ่านบาร์โค้ด หรือ QR Code, Internet Banking, Mobile Banking เข้าบัญชีของ อปท. นั้น
  • ผ่านบัตรเครดิต ของทุกธนาคาร รวมไปถึงบัตรกรุงไทยวีซ่าเดบิต
  • ผ่านไปรษณีย์ลงทะเบียน เช่น ธนาณัติ ตั๋วแลกเงิน เช็ค
เรียกว่ามีช่องทางการชำระ ก็มีหลากหลายช่องทางให้เลือกกันเลย และสำหรับอัตราภาษี และวิธีการจ่ายภาษี รวมไปถึงรายละเอียดเบี้ยปรับภาษี สามารถอ่านต่อได้ด้านล่างเลยครับ

อัพเดต พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2565

จากการประกาศ พระราชกฤษฎีกา กำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ๒๕๖๔ เรื่องการจัดเก็บภาษีที่ดินในปี 65-66 มีการคงการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้เท่ากับอัตราของปี 2563-2564 แต่มีการยกเลิกมาตราการลดภาษี 90% เพื่อช่วยเหลือประชาชนจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่า ทำให้ส่วนท้องถิ่นขาดรายได้ไปกว่า 3 หมื่นล้านบาทต่อปี และมาตราการดังกล่าว ถูกมองว่าเป็นการช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้สูง โดยประชาชนทั่วไปไม่ได้รับประโยชน์
โดยสาระหลักใน พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2564 เป็นการกำหนดอัตราการจัดเก็บภาษีเป็นอัตราก้าวหน้า หรืออัตราขั้นบันได 4 ประเภทหลัก คือ กลุ่มเกษตรกรรม เก็บภาษีระหว่าง 0.01%-0.1% กลุ่มบ้านอยู่อาศัย เก็บภาษีระหว่าง 0.02%-0.1% โดยยกเว้นการเก็บภาษีสำหรับเจ้าของที่ดินและบ้านหลังหลักมูลค่าน้อยกว่า 50 ลบ. และกรณีที่เป็นเจ้าของบ้านเพียงอย่างเดียว เว้นฐานภาษีที่ 10 ลบ. ในขณะที่กลุ่มพาณิชยกรรมและที่ดินรกร้างเริ่มเก็บตั้งแต่บาทแรก ในอัตราภาษีระหว่าง 0.3%-0.7%

Timeline การชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 บังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 13 มี.ค. 2562 ก่อนจะเริ่มทำการเก็บภาษีจริงในปี 2563
ในช่วงปี 2563 เป็นปีแรกที่มีการเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพรบ. ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องปรับตัวเข้ากับสถานการณ์โรคระบาดและสภาพเศรษฐกิจของบ้านเมือง ทำให้รัฐได้ออกนโยบายลดภาษีที่ดิน 90% จากภาษีที่ต้องจ่ายเพื่อช่วยประชาชนลดภาระ
สำหรับการชำระภาษีที่ดินสามารถผ่อนชำระเป็นงวดได้ ตามกำหนดเดิมของพรบ.จะต้องจ่ายภายในเม.ย. แต่ในปี 2563 - 2565 รัฐได้กำหนดให้เลื่อนจากกำหนดเดิมออกไป 2 เดือน โดยในงวดแรกจะจ่ายในช่วงเดือน มิ.ย. งวดสองเดือน ก.ค. และงวดที่สามในเดือน ส.ค.
ล่าสุดในปี 2565 นี้ รัฐเตรียมเก็บค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็น 100% เต็มแล้ว โดยการชำระภาษียังสามารถผ่อนจ่ายได้ 3 งวดเหมือนเดิม ส่วนกำหนดการจ่ายภาษีของปีถัด ๆ ไปขอให้ติดตามประกาศของปีนั้น ๆ อีกที

อัตราค่าปรับกรณีค้างชำระ

จากกำหนดการตามพรบ. ระยะเวลาในการจ่ายภาษีจะกำหนดจ่ายภายในเดือนเม.ย. หลังจากนั้นผู้ค้างชำระภาษีจะได้รับหนังสือแจ้งเตือนในเดือน พ.ค.
หากจ่ายภาษีเลยกำหนด แต่จ่ายก่อนได้รับหนังสือแจ้งเตือน จะต้องเสียค่าปรับ เพิ่ม 10% จากยอดค้างชำระ
ถ้าชำระหลังจากได้รับหนังสือแจ้งเตือน จะเสียค่าปรับเพิ่ม 20% จากยอดค้างชำระ
และถ้าหากเลยจากระยะเวลาแจ้งเตือนออกไป จะต้องเสียค่าปรับเพิ่ม 40% จากยอดค้างชำระ
โดยทั้งหมดนี้ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม 1% ของภาษีที่ค้างชำระต่อเดือน โดยนับตั้งแต่หลังกำหนดการจนถึงช่วงเวลาที่ได้ชำระภาษี หลังจากได้รับหนังสือแจ้งเตือน หากยังไม่ชำระภาษีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะส่งข้อมูลการค้างชำระหนี้ไปให้สำนักงานที่ดิน ทำให้ไม่สามารถจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้
และหากเลยกำหนดชำระ 90 วันแล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถยึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปขายทอดตลาดได้ (แต่ห้ามยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้เสียภาษี เกินกว่าความจำเป็นที่พอจะชำระภาษีค้างชำระ เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าใช้จ่ายดังกล่าว)

เตรียมพร้อมกับ พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ที่จริงแล้ว ผู้ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างควรจะได้ใบแสดงข้อมูลเกี่ยวกับภาษี เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลตั้งแต่เดือน ก.ค. ปี 63 แต่ด้วยเรื่องทางสาธารณสุขที่เกิดขึ้นกับโรค COVID-19 ทางกระทรวงมหาดไทย และ กทม.ได้ขยายกำหนดการต่างๆ ภายในปี 63 ออกไป ทำให้ในปีแรกที่มีการจัดเก็บภาษีมีกำหนดการแตกต่างจากปีอื่นๆ ซึ่งกำหนดการที่สำคัญๆ มีดังนี้
อย่างแรกจะมีการจัดส่งข้อมูลการประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ผู้เสียภาษีแต่ละรายทราบภายในเดือน ก.ค.63 เป็นต้น แต่ด้วยปีนี้มีความล่าช้า ทำให้ในปัจจุบันยังได้ไม่ครบ โดยสามารถนำเอกสารกรรมสิทธิ์และบัตรประชาชนไปติดต่อที่เขตของทรัพย์สิน และชำระภาษีภายในเดือน ต.ค. 63  หากชำระล่าช้า จะถือว่ามีการค้างชำระต้องเสียค่าปรับตามที่พรบ.กำหนด

อัตราภาษีที่ดินในการจัดเก็บในปี 2565-2566

  • ในช่วงปี 2565-2655 มีการเก็บภาษีในอัตราเท่ากับปี 2563-2564 โดยมีการเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า คือ ยิ่งมีมูลค่าฐานภาษีมาก ยิ่งต้องเสียอัตราภาษีที่มากขึ้นไปด้วย แต่ในขณะเดียวกันอัตราภาษีเริ่มต้น ถูกกำหนดในช่วงของมูลค่าทรัพย์สินค่อนข้างกว้าง ตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 25 - 75 ลบ. ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้ที่มีทรัพย์สินน้อย
  • โดยในการเก็บภาษีจะมีข้อยกเว้นเพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงรายได้ปลานกลาง กลุ่มที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ก็จะมีการเว้นการเก็บภาษีในที่ดินที่ไม่เกิน 50 ล้านบาท และ กลุ่มที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย ก็จะมีการยกเว้นภาษีให้กับบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาท กับบุคคลที่เป็นเจ้าของบ้านไม่เกิน 10 ล้านบาท
  • กลุ่มที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย มีการแยกประเภทย่อยไปอีก 3 ประเภท ได้แก่ เป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างเพียงอย่างเดียว เป็นเจ้าของทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สุดท้ายคือที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนอกเหนือจาก 2 กรณีแรก (บ้านหลังรอง) ซึ่งจะมีอัตราการเก็บภาษี และการแบ่งมูลค่าทรัพย์สินที่แตกต่างกันออกไป
  • ประเภทที่ดินรกร้าง ไม่ใช้ประโยชน์ และพาณิชยกรรมมีการเก็บอัตราภาษีในอัตราที่เท่ากัน คือ เริ่มต้นที่ 0.3% และสูงสุดอยู่ที่ 0.7% กลุ่มบ้านพักอาศัย

ปัญหาภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีโรงเรือนและที่ดิน

เปรียบเทียบภาระทรัพย์สินตามกฎหมายปัจจุบันและกฎหมายใหม่

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นกฎหมายที่จะมาแทนกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน และกฎหมายว่าด้วยภาษีบํารุงท้องที่ ทั้งหมด 12 ฉบับ ซึ่งมีบางมาตราที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงส่งผลให้รัฐจัดเก็บภาษีได้ต่ำเกินจริง ทั้งนี้ การเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่มีจุดมุ่งหมายในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และเพิ่มการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น
เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะเป็นผู้จัดเก็บภาษีโดยมีรัฐบาลเป็นผู้ดูแล ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับ อปท. เพื่อนำไปใช้พัฒนาพื้นที่ในเขตปกครองให้เจริญยิ่งขึ้น นอกจากนี้การเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างช่วยให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว และยังสามารถลดการถือครองที่ดินเพื่อการเก็งกำไรอีกด้วย

ทรัพย์สินที่เก็บภาษี

  • ทรัพย์สินอะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี
  • ส่วนทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด โดยใช้มูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จากราคาประเมินที่กรมธนารักษ์เป็นผู้กำหนด
  • ใครบ้างที่มีหน้าที่เสียภาษี 
  • ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ห้องชุด หรือเป็นผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ
  • ใครเป็นคนจัดเก็บภาษี
  • สำหรับหน่วยงานที่จัดเก็บภาษี ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา โดยรายได้ภาษีที่จัดเก็บได้นั้นจะเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น
เนื้อหาสำคัญของ พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 นี้ ส่วนใหญ่จะยังคงใจความเดียวกับ ร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ฉบับ สนช. เห็นชอบ) คือ ยังคงอัตราเพดานภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทั้ง 4 ประเภทหลักเท่าเดิม ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรรม 0.15%  กลุ่มบ้านพักอาศัย 0.3% ในขณะที่กลุ่มพาณิชยกรรม 1.2% และกลุ่มที่ดินรกร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์ 1.2% แต่หากไม่ใช้ประโยชน์ติดต่อกัน 3 ปี ให้เก็บภาษีในอัตรา 0.3% ในปีที่สี่ และเพิ่ม 0.3% ทุกๆ 3 ปี แต่ไม่เกิน 3%
นอกจากนี้ มีการกำหนดข้อยกเว้นภาษีให้กับบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินหลังหลักไม่เกิน 50 ลบ. และบุคคลธรรมดาที่เป็เจ้าของสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่เป็นเจ้าของที่ดินไม่เกิน 10 ลบ. ส่วนในภาคเกษตรกรรม มีการยกเว้นภาษีให้กับเจ้าของที่เป็นบุคคลธรรมดาที่ใช้ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อการทำเกษตรกรรมไม่เกิน 50 ลบ. ซึ่งคาดว่าข้อยกเว้นนี้จะช่วยให้เจ้าของบ้านหลังหลักและเกษตรกรกว่า 90% ไม่ต้องเสียภาษีที่ดินฯ

การคำนวณภาระภาษี

มาตรการดูแลผลกระทบ

1. ยกเว้น

เป็นมาตรการถาวรที่กำหนดให้ทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้นไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ศาสนา หรือเพื่อส่วนรวม โดยจะต้องเป็นทรัพย์สินหรือที่ดินเพื่อกิจการสาธารณะ
ส่วนภาคเอกชน มีการยกเว้นภาษีให้กับพื้นที่ส่วนกลาง หรือพื้นที่สาธารณูปโภคตามกฎหมาย เช่น พื้นที่ส่วนกลางที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันตามกฎหมายอาคารชุด หรือพื้นที่สาธารณูปโภคตามกฎหมายจัดสรรและกฎหมายนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น

สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังภาษีที่ดินฯ มีผลบังคับใช้

  • พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายหลายฝ่ายพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นมา เพื่อใช้แทนกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดิน โดยมุ่งหวังให้เข้ากับสภาวะในปัจจุบัน และมีความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี กระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ของที่ดิน รวมถึงกระจายอำนาจไปสู่อปท. ให้มีงบประมาณเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในระยะยาว โดยกระทรวงการคลังประเมินว่าจะเก็บเงินเข้ารัฐได้ถึง 10,000 ล้านบาทใน 4 ปีแรกหลังบังคับใช้
  • การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในครั้งนี้เชื่อว่าไม่ได้กระทบกับคนส่วนใหญ่หรือมนุษย์เงินเดือนมากนัก เนื่องจากมีมาตรการยกเว้น ผ่อนปรนอยู่หลายข้อ แต่สำหรับใครที่ชอบสะสมที่ดิน มีบ้านหลายหลัง หรือซื้อคอนโดไว้ปล่อยเช่าแล้ว ก็ลองสำรวจตรวจสอบทรัพย์สินของตัวเองกันดูว่า มีมูลค่าเท่าไร จัดอยู่ในประเภทไหน ต้องเสียภาษีหรือไม่ ถ้าต้องเสียภาษีจะจัดการกับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้อย่างไร เพื่อที่จะได้เสียภาษีได้อย่างถูกต้อง หลังจากเริ่มการเก็บภาษีส่วนนี้
  • Info : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562
 
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (389)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon