realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

เปิดแผน!! พัฒนา TOD 3 สถานีใหญ่ 17 ปี เสร็จครบทุกเฟส!!

14 Dec 2020 2.9K

เปิดแผน!! พัฒนา TOD 3 สถานีใหญ่ 17 ปี เสร็จครบทุกเฟส!!

14 Dec 2020 2.9K
 
จากที่ประเทศไทยมีแผนการพัฒนารถไฟรางคู่ และรถไฟความเร็วสูงไปทั่วประเทศ สิ่งหนึ่งที่ลืมไม่ได้เลยคือการพัฒนาพื้นที่รอบๆ สถานี หรือ TOD (Transit Oriented Development) การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะ ให้มีการเชื่อมโยงการเข้าถึงที่สะดวก การใช้ประโยชน์รอบๆ มีความคุ้มค่า เกิดการพัฒนาเมืองอย่างมีระบบเศรษฐกิจดี ได้ประโยชน์กันทุกฝ่าย
โดย 3 พื้นที่แรกที่เริ่มมีแผนการพัฒนาอย่างชัดเจนได้แก่ บริเวณพื้นที่รอบสถานีขอนแก่น สถานีพัทยา และสถานีอยุธยา ก่อนจะไปดูว่ามีที่ไหนบ้างลองมาทำความรู้จัก TOD คร่าวๆ กันก่อน พร้อมกับตัวอย่าง TOD ดีๆ จากต่างประเทศกันด้วย ติดตามต่อในบทความได้เลยครับ

มาเริ่มรู้จัก TOD กันก่อน!

TOD (Transit Oriented Development) คือการพัฒนาพื้นที่สถานีขนส่งมวลชน โดยองค์ประกอบหลักๆ ได้แก่
1. ความหนาแน่น (HIGH DENSITY) - พื้นที่โดยรอบสถานีจะต้องมีความหนาแน่นของกิจกรรม ให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า มีความกระชับและมีประสิทธิภาพ
2. การใช้ประโยชน์แบบผสมผสาน (MIXED-USE) - กิจกรรมโดยรอบสถานีจะต้องมีความหลากหลาย สอดคล้อง และส่งเสริมกัน ให้เกิดความสะดวกในการใช้พื้นที่ในเมือง
3. การเชื่อมต่อ (LINKAGE) - การเชื่อมต่อภายในเมืองจะต้องมีความไร้รอยต่อ ทั้งตั้งแต่สถานีไปจนถึงการใช้ประโยชน์โดยรอบ มีการเปลี่ยนถ่ายการสัญจรที่สะดวก และมีทางเลือกในการเดินทาง
 
4 เรื่องพื้นฐานที่ต้องทำคือ
1. การจัดรูปที่ดิน - เนื่องจากพื้นที่โดยรอบสถานีเป็นพื้นที่เอกชน ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาเมืองมีเป็นไปได้ เกิดความเป็นธรรม ได้ประโยชน์สูงสุดแก้ทุกฝ่าย การจัดรูปที่ดินจะเป็นเครื่องมือที่ดินที่จะสามารถจัดการได้ ด้วยการให้เจ้าของที่ดินโดยรอบที่มีความเกี่ยวข้องกับโครงการได้พูดคุยกันถึงความต้องการ หาจุดร่วมในการพัฒนาที่ดินโดยอาจมีการแลกเปลี่ยนที่ดิน การซื้อ-ขายที่ดินกันเป็นต้น
2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลัก - ได้แก่ระบบถนน ทางจักรยาน ทางเท้า เนื่องจากการพัฒนา TOD ควรจะต้องเข้าถึงด้วยทางเท้าได้เป็นหลัก และมีการเชื่อมโยงการเข้าถึงที่สะดวก
3. โครงสร้างพื้นฐานรอง - ได้แก่การเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชน เช่น การจัดหาการบริการ และการปรับปรุงระบบรถโดยสารประจำทาง เป็นต้น
4. การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ - เมื่อโครงสร้างเมืองพร้อมแล้วการพัฒนาของเอกชนก็จะเห็นโอกาสของการเติบโตในเมือง และมีการพัฒนาที่อยู่อาศัย และแหล่งงาน ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในเมืองต่อไปได้

ตัวอย่างดีๆ TOD จากต่างประเทศ

ตัวอย่างจาก OSAKA STATION ประเทศญี่ปุ่น สถานีรถไฟที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายกับสถานี HANKYU UMEDA STATION ซึ่งการพัฒนาไม่ได้แค่เป็นการออกแบบแค่ในสถานีรถไฟ แต่เป็นการออกแบบบตั้งแต่ชานชาลาไปจนถึงพื้นที่รอบๆ ของเอกชน ที่มีการเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ รวมทั้งมีความหนาแน่นของกิจกรรม มีครบทุกเงื่อนไขความเป็น TOD เลย
พื้นที่ภายในสถานีมีการเชื่อมโยงตั้งแต่ ชานชาลารถไฟ ไปยังลานสถานี และเชื่อมเข้าสู่พื้นที่พาณิชยกรรมโดยเชื่อมต่อกันได้โดยตรงด้วยระบบทางเดินเท้าเป็นหลักเลย
มาดูภายนอกกันบ้างจากอาคารสถานีที่เชื่อมต่อกับอาคารที่เป็นการพัฒนาแบบผสมผสาน และยังเชื่อมไปยังอาคารรอบๆ ที่มีการใช้ประโยชน์แบบหลายรูปแบบ ทำให้เกิดความมีประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่ และยังเข้าถึงได้ด้วยทางเดินเท้าเป็นหลักอีกด้วย

3 สถานีต้นแบบ TOD ของไทย

จากสถานีทั่วประเทศได้มีการคัดเลือก 3 สถานีต้นแบบแรกขึ้นมาจากความเหมาะสมของพื้นที่ ความคุ้มค่า และความเป็นไปได้ในการพัฒนา โดยได้แก่ สถานีขอนแก่น สถานีพัทยา และสถานีอยุธยา ซึ่งทั้ง 3 สถานีเป็นสถานีรถไฟความเร็วสูงซึ่งอยู่ในแผนการพัฒนาช่วงแรกอยู่แล้ว
นอกจากนั้นยังมีสถานีในระยะเร่งด่วนอื่นๆ อีก 13 สถานี กระจายไปทั้ง 4 สายของรถไฟไทย ซึ่งจะเริ่มโครงการใกล้ๆ กันนี้ในปี 2564-2565
 

สถานีขอนแก่น

สถานีรถไฟขอนแก่น จะเป็นการพัฒนา TOD ศูนย์ภูมิภาค (REGIONAL CENTER) จากกลุ่มแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นศูนย์การการค้า บริการพาณิชยกรรม และการลงทุน โดยมีรัศมีการพัฒนารอบสถานีอยู่ที่ 500 เมตรรอบสถานี
โดยพื้นที่รอบสถานีรถไฟขอนแก่นจะเป็นศูนย์กลางเมืองแห่งใหม่ มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างคุ้มค่าแบบผสมผสาน แบ่งออกเป็น 8 โซนโดยมีระบบขนส่งมวลชนเชื่อมโยงกัน แบ่งออกเป็น 4 ระยะการพัฒนา ตั้งแต่ปี 2564 -  2580
  • ระยะที่ 1 : ระยะเร่งด่วน พ.ศ.2564-2565 พัฒนาโซนที่ 1 และ 2
  • ระยะที่ 2 : ระยะสั้น พ.ศ.2566-2570 พัฒนาโซนที่ 5 และ 6
  • ระยะที่ 3 : ระยะปานกลาง พ.ศ.2571-2575 พัฒนาโซนที่ 4 และ 3
  • ระยะที่ 4 : ระยะยาว พ.ศ.2576-2580 พัฒนาโซนที่ 6 , 7 และ 8

สถานีพัทยา

สถานีรถไฟพัทยา อยู่อยู่เส้นทางการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เชื่อมต่อพื้นที่พัฒนา EEC โดยสถานีรถไฟพัทยาจะเป็นการพัฒนา TOD ศูนย์ภูมิภาค (REGIONAL CENTER) มีรัศมีการพัฒนาอยู่ที่ 1,000 เมตรรอบสถานี โดยเน้นการพัฒนาบนพื้นที่ใหม่ให้เป็นศูนย์กลางเมืองแห่งใหม่ มีทั้งหมด 6 โซน โดยเน้นกิจกรรมในการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการประชุม ธุรกิจ และที่อยู่อาศัย เป็นหลัก
  • ระยะที่ 1 : ระยะเร่งด่วน พ.ศ.2564-2565
  • ระยะที่ 2 : ระยะสั้น พ.ศ.2566-2570
  • ระยะที่ 3 : ระยะปานกลาง พ.ศ.2571-2575
  • ระยะที่ 4 : ระยะยาว พ.ศ.2576-2580
โดยลำดับของการพัฒนาจะพัฒนาทุกโซนไปพร้อมกัน และค่อยๆ ขยายพื้นที่แต่ละโซนไปตามระยะการพัฒนาเพื่อให้มีกิจกรรมที่ส่งเสริมกันในเมืองต่อเนื่องตลอดทุกระยะของการพัฒนา
 

สถานีอยุธยา

พื้นที่รอบสถานีรถไฟอยุธยาจะเป็น TOD ศูนย์กลางเมือง (URBAN CENTER) เป็นสถานีรถไฟที่อยู่บนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศ รัศมีการพัฒนาอยู่ที่ 300 - 800 เมตรรอบสถานี โดยเน้นการเชื่อมต่อพื้นที่สถานีความเร็วสูงที่จะเป็นศูนย์กลางเมืองใหม่ เข้ากับพื้นที่ชุมชนเมืองเดิม มีการพัฒนาอย่างผสมผสาน
โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็น 4 โซน 3 ระยะตั้งแต่ พ.ศ.2566- 2580
  • ระยะที่ 1 : ระยะสั้น พ.ศ.2566-2570 พัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟเป็นหลัก
  • ระยะที่ 2 : ระยะปานกลาง พ.ศ.2571-2575 เน้นพัฒนาพื้นที่แบบผสมผสานบริเวณถัดจากสถานีรถไฟ
  • ระยะที่ 3 : ระยะยาว พ.ศ.2576-2580 พัฒนาพื้นทีบริเวณริมถนนโรจนะ

ลงทุนเท่าไหร่? ใครได้ประโยชน์?

ในแง่ของการลงทุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของเมืองจะมีรัฐเป็นผู้ลงทุนหลักเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในการพัฒนา ส่วนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานรองจะเป็นรัฐ และเอกชนร่วมลงทุนโดยจะเป็นในรูปแบบ ร่วมลงทุน(PPP) หรือการให้สัมประทานเป็นต้น ส่วนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะเป็นฝ่ายเอกชนที่จะเข้ามาลงทุนตามศักยภาพของเมือง
ถ้ามีคำถามว่าการพัฒนานี้คุ้มค่าไหม? ต้องบอกเลยว่าในระยะยาวคุ้มค่าแน่นอน เนื่องจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นที่นอกจากจะเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในพื้นที่แล้วยังเป็นการพัฒนาที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเมือง ซึ่งศักยภาพของเมืองนี้เองที่จะช่วยดึงดูดให้มีการลงทุนในพื้นที่ เป็นการกระจายความเจริญไปยังพื้นที่ต่างๆ สร้างแหล่งงานในพื้นที่นั้นๆ และทำให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้มากขึ้น
INFO : กระทรวงคมนาคม / สนข.
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon