realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

U Place Condo ปทุมธานี ถล่ม!

20 Aug 2014 3.7K

U Place Condo ปทุมธานี ถล่ม!

20 Aug 2014 3.7K
 
U Place Condo ปทุมธานี ถล่ม!
ที่มาข้อมูล วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ 13 ส.ค. 57

จากเหตุอาคาร ยูเพลสคอนโดมิเนียม ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลคลองหก อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี พังถล่มราบลงมาขณะทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2557 เวลา 16.20 น. ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ จากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้ลงสำรวจพื้นที่พิบัติภัยอาคารคอนโดที่กำลังก่อสร้างพังถล่มลงมาในวันที่ 11-12 ส.ค. ที่ผ่านมา และได้นำแบบแปลนก่อสร้างของโครงการนี้มาประกอบเพื่อศึกษาวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้ตึกถล่มลงมาศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่า อาคารยูเพลสคอนโดมิเนียม เป็นอาคารที่พักอาศัยสูง 6 ชั้น มีจำนวน 4 หลัง สร้างเสร็จแล้ว 2 หลัง โดยอาคาร 4 ได้พังถล่มลงมา ภาพรวมของปัญหาสาเหตุของอาคารถล่มครั้งนี้ มี 3 ประเด็น ที่ต้องตรวจสอบทางวิชาการวิศวกรรมโดยละเอียด คือ

1. แบบอาคาร การรับน้ำหนักบรรทุกและการกำหนดมิติของโครงสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐานวิศวกรรมหรือไม่ 2. วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างมีคุณภาพ และมาตรฐานหรือไม่ 3. วิธีการก่อสร้าง ขั้นตอนการก่อสร้าง การควบคุมงาน ถูกต้องตามหลักวิชาการหรือไม่

ทั้งนี้ในประเทศไทย โดย วสท. ได้จัดทำมาตรฐานการออกแบบ การควบคุมงาน ความปลอดภัยในระหว่างการก่อสร้าง และจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด รองศาสตราจารย์ เอนก ศิริพานิชกร ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา วสท. กล่าวว่า “จากการสำรวจโครงสร้างของอาคาร และตรวจสอบแบบแปลนแล้วพบว่ามีความเป็นไปได้ที่เสาอาคารมุมอาคารด้านหนึ่ง ซึ่งในอาคารที่สร้างเสร็จแล้วมีร่นขอบแผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงท้องเรียบเข้าภายในอาคาร เพื่อเมื่อติดตั้งแผงคอนกรีตสำเร็จรูปแล้วจะเติมเต็มตามขอบแผ่นพื้น ซึ่งการดำเนินการนี้อาจมีผลกระทบกับกำลังรับแรงเฉือนเจาะ (punching shear) ของแผ่นพื้น ประกอบกับเสามุมรับน้ำหนักบรรทุกน้อย แต่ต้องรับการบิด (torsion) ทั้งสองแกนของเสา ซึ่งประกอบกับการเทคอนกรีตบริเวณนั้น อาจดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่ำทำให้คอนกรีตสดอาจกองอยู่บริเวณนั้น ทั้งนี้กรณีที่มีนั่งร้านค้ำยันในการก่อสร้างแผ่นพื้นนั้นมีจำนวนไม่เพียงพอ ทำให้เสาต้นดังกล่าวมีการสูญเสียตำแหน่งอย่างมาก และพังทลายลง และน้ำหนักบรรทุกทั้งหมดที่เสาต้นนี้เคยรับจะส่งไปที่เสาข้างเคียง และมีการวิบัติอย่างต่อเนื่อง (progressive collapse) จนอาคารทั้งหลังวิบัติทั้งหมด (total collapse)

"ทั้งนี้การจะได้อาคารที่ดี ควรประกอบด้วย 1. การออกแบบดี 2. การมีข้อกำหนดด้านวัสดุที่ดี และเพียงพอ เหมาะสม 3. การก่อสร้าง และ 4. การบำรุงรักษา และซ่อมแซม" รองศาสตราจารย์ อเนกกล่าว

ข้อสรุปเบื้องต้น
ยูเพลส คอนโดมิเนียม - อาคารพักอาศัยรวม (6 ชั้น) โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นระบบคอนกรีตอัดแรง (Post-tension) โดยทางวสท.ชี้แจงสาเหตุเบื้องต้นของการถล่ม (13 สค. 2557) ดังนี้1. วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างมีคุณภาพและมาตรฐานหรือไม่ ใช้เหล็กน้อยไป? เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พื้นรับแรงไม่ได้?2. สร้างผิดแบบ / แบบผิดหรือไม่ การรับน้ำหนักของโครงสร้างเป็นไปตามมาตรฐานวิศวกรรมหรือไม่? พื้นคอนกรีตมีพื้นที่ติดกับเสาน้อยเกินไปจึงทำให้พื้นฉีกขาดง่าย?3. วิธีการก่อสร้าง ขั้นตอนการก่อสร้าง การควบคุมงาน ถูกต้องตามหลักวิชาการหรือไม่ พื้นยังแข็งตัวไม่เพียงพอ แต่ก็ยังรีบสร้างชั้นถัดไป? สาเหตุอื่น ๆ - ฐานรากวิบัติ, สร้างผิดวิธี (สภาวิศวกร) - เทคอนกรีตฝั่งซ้ายของอาคารมากเกินไป เกลี่ยไม่ทัน ทำให้น้ำหนักบรรทุกด้านหนึ่งของพื้นมากกว่าและเกิดการวิบัติ (ไทยรัฐทีวี) Info : COE, EIT & Thairath TV
วินาทีตึกถล่ม (วินาทีที่ 1.50 เป็นต้นไป)
พื้นที่เกิดเหตุ
Image : เรื่องเล่าเช้านี้, 13 Aug 2014
ตำแหน่งที่ตั้ง
วสท.แถลงสาเหตุเบื้องต้นในการถล่ม
Image : การก่อสร้างพื้นไร้คานอย่างปลอดภัย, TPBS, 14 Aug 2014
Image : Council of Engineers
การวิบัติอย่างต่อเนื่องของอาคาร

รองศาสตราจารย์ เอนก ศิริพานิชกร ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา วสท. กล่าวว่า “จากการสำรวจโครงสร้างของอาคาร และตรวจสอบแบบแปลนแล้วพบว่ามีความเป็นไปได้ที่เสาอาคารมุมอาคารด้านหนึ่ง ซึ่งในอาคารที่สร้างเสร็จแล้วมีร่นขอบแผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงท้องเรียบเข้าภายในอาคาร เพื่อเมื่อติดตั้งแผงคอนกรีตสำเร็จรูปแล้วจะเติมเต็มตามขอบแผ่นพื้น ซึ่งการดำเนินการนี้อาจมีผลกระทบกับกำลังรับแรงเฉือนเจาะ (punching shear) ของแผ่นพื้น ประกอบกับเสามุมรับน้ำหนักบรรทุกน้อย แต่ต้องรับการบิด (torsion) ทั้งสองแกนของเสา ประกอบกับการเทคอนกรีตบริเวณนั้น อาจดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่ำทำให้คอนกรีตสดอาจกองอยู่บริเวณนั้น ทั้งนี้กรณีที่มีนั่งร้านค้ำยันในการก่อสร้างแผ่นพื้นนั้นมีจำนวนไม่เพียงพอ ทำให้เสาต้นดังกล่าวมีการสูญเสียตำแหน่งอย่างมาก และพังทลายลง และน้ำหนักบรรทุกทั้งหมดที่เสาต้นนี้เคยรับจะส่งไปที่เสาข้างเคียง และมีการวิบัติอย่างต่อเนื่อง (progressive collapse) จนอาคารทั้งหลังวิบัติทั้งหมด (total collapse)Info : วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

Image : Naewna, 13 Aug 2014
Image : Isranews, 13 Aug 2014
ภาพจำลองเหตุการณ์
Image : Morning News,TV3, 13 Aug 2014
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon