realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (390)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (19)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (390)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (19)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

UPDATE!! แผนขนส่งมวลชน เมืองอุดรฯ

13 Sep 2019 2.9K

UPDATE!! แผนขนส่งมวลชน เมืองอุดรฯ

13 Sep 2019 2.9K
 

UPDATE!! แผนขนส่งมวลชน เมืองอุดรฯ

เทรนด์การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนตามเมืองใหญ่ในต่างจังหวัดกำลังมาแรง โดยภาครัฐมีการผลักดันโครงการอยู่ตลอด เพื่อกระจายความเจริญไปสู่ภาคอื่นๆ โดยเจาะจงจังหวัดที่มีศักยภาพและมีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นเมืองรองจากกรุงเทพฯ
ปัจจบุันการพัฒนาต่างๆ มีความคล่องตัว และเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยตัวอย่างของเมืองที่มีการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนตามเมืองใหญ่ที่โดดเด่นได้แก่ จ.เชียงใหม่ จ.ภูเก็ต จ.ขอนแก่น เป็นต้น โดยจะเป็นการวางผังแม่บทการพัฒนาเพื่อวางแผนเตรียมการในลำดับถัดไป
จ.อุดรธานีเองก็เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีการเติบโตของเมือง และเศรษฐกิจที่สูงมากๆ จนทำให้ต้องมีการวางแผนระบบขนส่งภายในเมืองในระยะยาวเพื่อป้องกันปัญหาโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ และให้เมืองเติบโตอย่างยั่งยืน เราไปดูกันต่อดีกว่าครับว่า แผนการพัฒนาในจังหวัดนี้จะเป็นเช่นไรกันบ้าง
 

แผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนอุดร

แผนการพัฒนาเริ่มต้นจากกระทรวงคมนาคมโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ให้มีการจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนอุดร ตั้งแต่ปี 2561  เพื่อแก้ปัญหารถติดในระยะยาว และให้เกิดความสะดวกในการเดินทางของประชาชน ทั้งผู้อยู่อาศัยเดิม นักท่องเที่ยว รวมทั้งนักธุรกิจ ซึ่งก็จะทำให้การเชื่อมโยงต่างๆ ภายในตัวเมืองอุดรมีความต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น และส่งเสริมให้เมืองเติบโตอย่างยั่งยืน
 

รูปแบบโครงข่าย และเส้นทาง

เส้นทางจะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 6 เส้นทาง มีศูนย์กลางอยู่ที่ใจกลางเมืองอุดรฯ โดยสร้างให้เกิดโครงข่ายการสัญจรที่เชื่อมโยงที่เป็นพื้นที่สำคัญทั้ง แหล่งงาน แหล่งท่องเที่ยว และที่พักอาศัยตามการใช้งานจริงในปัจจุบัน รวมถึงผสานการเชื่อมโยงกับสถานีรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง และท่าอากาศยานนานาชาติเข้าด้วยกัน
ด้วยการเติบโตของเมืองอย่างต่อเนื่อง ทำในอนาคตประชากรในตัวเมืองก็จะเพิ่มขึ้น โครงข่ายการสัญจรจึงมีการคาดการณ์ปริมาณการเดินทางในอนาคต เพื่อใช้ในการวางแผนต่อไปว่าจะเลือกใช้ระบบนส่งมวลชนแบบใด และจะแก้ปัญหาในอนาคตได้อย่างไร ซึ่งจากการคาดการ์พบว่าจะมี จำนวนผู้โดยสายต่อเที่ยวต่อวันที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย ปีละ 2% ซึ่งในปี 2595  จะมีปริมาณผู้โดยสารถึง 461,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน
 

รูปแบบของการสัญจร

รูปแบบของการเดินทางที่อยู่ในแผนการพัฒนาจะแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ ได้แก่
  • 1.รถโดยสารประจำทาง(ฺBus)
  • 2.รถราง (Tram)
  • 3.รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (ฺBRT)
  • 4.รถไฟฟ้ารางเบา (LRT)
  • 5.รถไฟฟ้า (MRT/Metro)
โดยจะใช้รูปแบบไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับปริมาณผู้โดยสารต่อชั่วโมงว่าเพียงพอหรือเหมาะสมกับระบบใด
จากการศึกษาพบว่าทั้ง 6 เส้นทางระบบขนส่งในเมืองของ จ.อุดรธานี มีปริมาณผู้โดยสารอยู่ที่ประมาณ 3,000 คน/ชั่วโมง ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณการใช้ที่ไม่สูง ดังนั้นแผนการพัฒนาขั้นต้นจึงออกมาเป็นการทำโครงการรถโดยสารประจำทางก่อน เมื่อเมืองมีการพัฒนา คนเริ่มใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น ซึ่งแผนในปี 2580 จะมีโอกาสที่จะเปลี่ยนเป็นระบบรถราง (Tram) ได้ในอนาคต

จุดเริ่มต้นของการพัฒนา Smart City กับ UDON CITY BUS 

ทางเลือกที่เหมาะสมกับจำนวนผู้โดยสารในตัวเมืองอุดรฯ ซึ่งปัจจุบันเป็นรถโดยสารประจำทางไฟฟ้า เสริมด้วย Application ที่ผู้โดยสารสามารถติดตามรถได้จากระบบ GPS ซึ่งทำให้ตรวจสอบตำแหน่งของรถ ทำให้สามารถคำนวณเวลาเดินทางได้อย่างแม่นยำ รวมทั้งยังมีบริการเรียกคนขับเพื่อแจ้งให้คนขับรถมารับที่ป้ายรถประจำทางอีกด้วย ระบบการเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ  สามารถใช้ได้ ทั้งธนบัตร และเหรียญ รวมทั้งบัตรเติมเงิน ที่สามารถตรวจสอบยอดเงินคงเหลือได้จาก Application ทั้งสะดวก และทันสมัย
 

2 เส้นทางที่มีการเดินรถแล้ว!!

2 เส้นทางที่เริ่มเปิดใช้ไปแล้วคือ สายสีแดง และสายสีน้ำเงิน เป็นเส้นเดินรถหลักในตัวเมืองอุดรฯ โดยสายสีแดงจะเชื่อมโยงในแนว ตะวันออก - ตะวันตก (สนามบิน - สถานีรถไฟ) และ สายสีน้ำเงิน เชื่อมโยงในแนว เหนือ - ใต้ (ถนนมิตรภาพ) ตัดกันที่บริเวณวงเวียนน้ำพุ
รูปแบบของการเดินรถปัจจุบันใช้เป็น รถโดยสารประจำทางไฟฟ้า (Electric Bus) ซึ่งจะมีความคุ้มทุนในระยะยาวมากกว่า และเมื่อปริมาณการเดินทางมากขึ้นทั้ง 2 เส้นทางดังกล่าว ในอนาคตจะถูกพัฒนาเป็นรูปแบบรถราง และนำรถโดยสารประจำทางไฟฟ้าไปใช้กับถนนสายรองแทนเป็น Feeder เข้าสู่ระบบหลัก

เส้นทางอื่นๆ อีก 4 เส้นทาง

เส้นทางอื่นๆ อีก 4 เส้นทางจะเป็นการเชื่อมโยงพื้นที่ใจกลางอุดร ไปสู่พื้นที่นอกเมือง และ เส้นทางที่เป็นวงแหวนรอบในเมือง และส่วนของวงแหวนฝั่งตะวันออก เป็นต้น ซึ่งจากการศึกษาพบว่าจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการยังไม่ถึงเกณฑ์ จึงยังเป็นเพียงแผนพัฒนา และระบบที่ใช้ก็จะอยู่ในรูปแบบของรถโดยสารประจำทางเป็นหลัก  

พื้นที่ศักยภาพ TOD

จากการพัฒนาของพื้นที่ในเมืองอุดรฯ ที่ขยายตัวเร็วมากๆ รวมทั้งปัญหาการจราจรที่เริ่มติดขัดทำให้มีการวางผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี เป็นการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเมืองอุดรซึ่งประกาศไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 โดยพื้นที่ใจกลางเมืองที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากจะอยู่บริเวณถนนนิตโย ถ.โพธิศรี ผ่านส่วนของสถานีรถไฟไปจนถึงศาลากลาง หรือหนองประจักษ์ ซึ่งในการกำหนดพื้นที่พัฒนารอบระบนส่งมวลชนได้เลือกจากพื้นที่พาณิชยกรรม และที่อยู่อาศัยหนาแน่นนี้เอง
 
ในแผนแม่บทยังมีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีอีกด้วย โดยยกตัวอย่างการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีอยู่ 3 พื้นที่ได้แก่ พื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะบริเวณยูดีทาวน์ และเซ็นทรัลพลาซ่าอุดรธานี บริเวณสถานีรถอุดรธานี และ บริเวณเรือนจำกลาง ซึ่งจะมีการเสนอกำหนดมาตรการทางผังเมือง FAR ไว้ที่ 6 - 8 และ OSR ที่ 5% โดยสามารถพัฒนาโครงการแบบผสมผสาน (Mixed Use Project) ที่มีทั้ง อาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย พื้นที่พาณิชยกรรม และ พื้นที่สาธารณะ โดยทั้ง 3 พื้นที่จะเชื่อมโยงกันส่งเสริมกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเมือง
นอกเหนือจากแผนการพัฒนาที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ในการศึกษาแผนแม่บบทครั้งนี้ยังได้เสนอการแก้ไขปัญหาการจราจรในตัวเมืองปัจจุบัน กำหนดจุดจอดแล้วจร รวมทั้งการออกแบบภูมิทัศน์ทางเท้าในเขตเมืองอีกด้วย นับได้ว่า จ.อุดรธานี มีแผนการพัฒนาเมืองในระยะยาวที่มองครอบคลุมทั้งประเด็นการจราจร การขนส่ง ความคุ้มค่า และที่สำคัญคือคุณภาพชีวิตของคนในเมืองอุดรฯ
ที่มา : โครงการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาระบบบนส่งสาธารณะ ในเขตเมืองอุดรธานี - สำนักนโยบาย และแผนการขนส่ง และจราจร
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (390)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (19)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon