realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (391)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (182)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (19)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (391)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (182)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (19)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รัฐสภาแห่งใหม่

09 May 2017 45.6K

รัฐสภาแห่งใหม่

09 May 2017 45.6K
 

รัฐสภาแห่งใหม่ (สัปปายะสภาสถาน) แลนด์มาร์ค ริมเจ้าพระยา

โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ (รัฐสภาแห่งที่ 3) มีชื่อว่า “สัปปายะสภาสถาน” ด้วยความสวยงามของตัวสถาปัตยกรรมแล้ว ส่งเสริมให้อาคารสัปปายะสภาสถาน เป็นแลนด์มาร์คใหม่ของริมน้ำเจ้าพระยาเลย เทียบเท่าโครงการ MEGA PROJECT แบบ MIX-USED ใหญ่ๆได้เลยครับ เช่น ICOM SIAM และ THE LANDMARK WATERFRONT นอกจากนั้นยังทำให้พื้นที่บริเวณละแวกเกียกกาย จนถึงบางโพได้รับอานิสงค์จากการพัฒนาพื้นที่นี้ด้วย เพราะรัฐภาแห่งใหม่นั้นนำการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆตามมาครับ ไม่ว่าจะเป็นระบบถนน ที่มีทั้งการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ เรียกว่า "สะพานเกียกกาย” ซึ่งคาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 2562 การขยายช่องทางการจราจร และก่อสร้างถนนเพิ่มเติมในอนาคต รวมไปถึงการก่อสร้าง ศูนย์การค้า Gateway Bang Sue  ซึ่งคาดว่าจะให้บริการปลายปี 2561 นี้
รถไฟฟ้าทั้งสองสายในย่านทั้งสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-เตาปูน และสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-วงแหวนกาญจนาฯ ก็มาช่วยตอกย้ำความเจริญที่กำลังจะมาในย่านครับ แถมยังเป็นผลดีกับเหล่า Developer ที่จะได้ครอบครองทั้งผืนดินริมน้ำ การเดินทางที่สะดวกสบายด้วยรถไฟฟ้า และได้วิวสวยๆจากรัฐสภาแห่งใหม่ที่หาไม่ได้จากริมน้ำอื่นครับ  

MEGA PROJECT สัปปายะสภาสถาน (รัฐสภาแห่งใหม่)

ในปี พ.ศ. 2513 ได้มีการก่อสร้างอาคารรัฐสภาหลังใหม่เพื่อใช้เป็นที่ประชุมรัฐสภา ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2517 คืออาคารรัฐสภาปัจจุบัน (รัฐสภาลำดับที่ 2 ต่อจากพระนั่งอนันตสมาคมที่เป็นรัฐสภาแห่งแรก) แต่ด้วยอาคารรัฐสภาปัจจุบันมีความคับแคบเนื่องจากจำนวนส.ส.และส.ว.เพิ่มมากขึ้นตามรัฐธรรมนูญ เพื่อรองรับการปฏิบัติงานของสมาชิกรัฐสภา จึงมีการพยายามหาตำแหน่งที่ตั้งรัฐสภาแห่งใหม่ มาตั้งแต่ปี พ.ศ 2535  
ปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 ได้มีการประชุมจัดหาสถานที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาพื้นที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1. ที่ดินราชพัสดุถนนทหาร (เกียกกาย) กรุงเทพฯ 2. ที่ดินราชพัสดุกองคลังแสง กรมสรรพวุธทหารบก จังหวัดนนทบุรี 3. ที่ดินบริเวณคลังเชื้อเพลง คลองเตย  
คณะกรรมการได้มีมติเลือกที่เดินราชพัสดุถนนทหาร (เกี่ยกกาย) เขตดุสิต เป็นสถานที่ในการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บนที่ดิน 123 ไร่ เป็นพื้นที่อาคาร 50 ไร่ ก่อสร้างโดย บมจ. ชิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ซึ่งจะเปิดอย่างเป็นทางการในปี 2562

 

ความคืบหน้า 35% แล้ว

ความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ย่านเกียกกาย ขณะนี้คืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 35 คาดว่าหลังจากนี้น่าจะดำเนินการก่อสร้างได้ดีขึ้น เพราะได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาความล่าช้า ทั้งเรื่องการขนดินล่าการเวนคืนพื้นที่ และการบุกรุกเรียบร้อยแล้ว ส่วนระยะเวลาการส่งมอบที่กำหนดไว้ประมาณ ก.พ. 2561 ซึ่งมีระยะเวลาเหลืออยู่อีกกว่า 300 วัน ตามสัญญาที่ 2 แต่ระยะเวลาที่เหลืออยู่อาจไม่เพียงพอเพราะหากเปรียบเทียบกับสถานที่ราชการอื่นๆ ที่ขนาดเล็กกว่าก็ ต้องขยายเวลาจาก 900 วัน ไปอีก 2 ปี  

มีการควบคุมความสูงโดยรอบ เพื่อรักษาทัศนียภาพ

มหาดไทยออกกฎกระทรวงควบคุมอาคาร-สิ่งก่อสร้างบดบังทัศนียภาพ “อาคารรัฐสภาใหม่” ย่านเกียกกาย ตลอดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา รัศมีระยะ 200 เมตร ห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร เฉพาะท้องที่เขตบางซื่อ-ดุสิต เว้นแต่เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ทางหรือท่อระบายน้ำ รั้ว กำแพง หรือประตู ส่วนอาคารเดิม โรงมหรสพ สถานีรถไฟฟ้า คลังน้ำมันปั๊มน้ำมัน ได้รับยกเว้นแต่ห้ามดัดแปลง อ้างประโยชน์รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ผังเมือง และความสะดวกในการจราจร โดยส่วนที่ปรับใหม่ ได้ปรับลดรัศมีลงไม่ครอบคลุมไปถึงฝั่งธนบุรี ที่มีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายพาดผ่าน เพื่อให้เกิดการพัฒนาได้มากขึ้น โดยลดการควบคุมรอบรัฐสภาใหม่ • รัศมี 100 เมตร สร้างตึกสูงได้ไม่เกิน 16 เมตร หรือ 5 ชั้น • รัศมี 200 เมตร สร้างตึกสูงได้ไม่เกิน 23 เมตร หรือ 8 ชั้น ข้อมูล : ผู้จัดการ ออนไลน์ (1 มี.ค. 60)
 

พัฒนาระบบถนน 4 เส้นทาง

1. ขยายถนนสามเสน – ประชาราษฎร์สาย 1

ขยายถนนเป็น 8 ช่องจราจร จึงมีความจำเป็นในการพิจารณา พื้นที่ที่จะถูกเวนคืนอย่างเหมาะสม โดยมีงบประมาณ 1,251 ลบ. แยกเป็นค่า ออกแบบ 5 ลบ. ค่าเวนคืน 1,104 ลบ. ค่าก่อสร้างขยายถนนเดิม 142 ลบ.

2. ขยายถนนทหาร

คือทางเข้าสู่พื้นที่รัฐสภาแห่งใหม่ทางด้านตะวันออก ต่อจากถ.ประดิพัทธ์ เป็นถนน 4 ช่องทางจราจร (ไป 2 กลับ 2) และมีทางเท้ากว้างประมาณ 2.5 ม. สองฝั่งถนนส่วนใหญ่เป็นแนวของต้นไม้และกำแพงของหน่วยงานทหาร โดยถ.ทหารนี้จะถูกขยายเป็น 8 ช่องจราจรซึ่งจะเป็นทางขึ้นลงหลักของสะพานเกียกกาย โดยมีงบประมาณในการก่อสร้างและปรับปรุงถนนเป็นจำนวน 466 ลบ. แยกเป็น ค่าออกแบบ 3 ลบ. ค่าเวนคืน 396 ลบ.ค่าก่อสร้างขยายถนนเดิม 67 ลบ.

3. ก่อสร้างถนนคู่ขนานถนนสามเสน

การตัดถนนคู่ขนานถนนสามเสนขึ้นมาใหม่นี้เพื่อให้เชื่อมต่อกับถนนที่มีอยู่เดิมคือ ถ.กรุงเทพฯ-นนทบุรี (ประชาราษฎร์) บริเวณแยกเตาปูนเชื่อมกับถ.พิชัยบริเวณจุดตัดกับถ.อำนวยสงคราม โดยมีงบประมาณ 1,817 ลบ. แยกเป็นค่าออกแบบ 10 ลบ. ค่าเวนคืน 1,497 ลบ. ก่อสร้างถนนใหม่ 310 ลบ.

4. สะพานเกียกกายเวนคืน 400 แปลง

มท.เห็นชอบปรับแบบ ครั้งที่ 3 สรุปเวนคืนที่ดินกว่า 400 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 500 รายการ อนุมัติงบประมาณในปี 2561 จำนวนกว่า 10,500 ลบ. เป็นค่าก่อสร้าง 4,500 ลบ. และค่าเวนคืน 6000 ลบ.  ลักษณะโครงการ ประกอบด้วย สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาความยาว 1 กม. และถนนเชื่อมต่อที่เป็นทั้งถนนระดับดินและสะพานทางยกระดับขนาด 4-6 ช่องจราจรไป-กลับรวมระยะทาง 4.50 กม. มีจุดขึ้น-ลง 9 แห่ง โดยจุดเริ่มต้นอยู่ทางรถไฟสายใต้ ถ.จรัญสนิทวงศ์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา มาบรรจบกับ ถ.พหลโยธิน ด้านกรมการขนส่งทางบก รวมระยะทางประมาณ 5.9 กม. ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการเสนอออกกฎหมายเวนคืนที่ดิน คาดว่าจะมีผลใช้บังคับภายในปี 2560 และคาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2562 Info : Thairath.co.h  (8 Feb 2017)

พัฒนา 2 เส้นรถไฟฟ้าหนุนย่านบางโพ

เนื่องจากภาครัฐเตรียมทุ่มงบลงทุนทั้งการก่อสร้างสะพานเกียกกายรวมถึงถนนเชื่อมต่อบวกกับแผนขยายถนนในหลายเส้นทางต่างในย่านแล้ว โครงการที่สำคัญ รถไฟฟ้า 2 สาย คือ การขยายโครงข่ายโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะรถไฟฟ้าสายสีม่วงจากสถานีเตาปูน-อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ โครงการทั้งหมดหากแล้วเสร็จจะนำมาสู่การส่งเสริมให้พื้นที่มีศักยภาพในการเข้าถึงเพิ่มมากขึ้น ประชาชนและผู้ที่สัญจรสามารถเข้าถึงพื้นที่ได้จากระบบต่างๆ รวมถึงการเชื่อมโยงกับฝั่งธนบุรีโดยโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่จะเชื่อมโยงสองฝั่งแม่น้ำจากถนนจรัญสนิทวงศ์และจังหวัดนนทบุรีได้สะดวก

1. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

• ช่วงบางซื่อ - เตาปูน ระยะทาง 1 กม. เปิดให้บริการ ส.ค. 2560 • ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ระยะทาง 13 กม. จำนวน 10 สถานี เปิดให้บริการ ต.ค. 2562  

2. รถไฟฟ้าสายสีม่วง

• ช่วงเตาปูน-วงแหวนฯ ระยะทาง 23.6 กม.  จำนวน 17 สถานี เปิดให้บริการ 2566  
 

4 HIGH-RISE CONDOMINIUMS วิวรัฐสภาแห่งใหม่

หลังจากที่ตอนนี้ย่านบางโพ-เกียกกาย มีการพัฒนาในหลายๆด้านทั้งมีการพัฒนาเส้นทางคมคนคมหลากหลายระบบ รวมถึง MEGA PROJECT รัฐสภาแห่งใหม่ ตอนนี้จึงมี 4 คอนโดที่โชคดีได้อานิสงค์วิวแลนด์มาร์คใหม่ริมเจ้าพระยา "สัปปายะสภาสถาน" หรือรัฐสภาแห่งใหม่ที่หาไม่ได้จากที่ไหน โดยมี 3 โครงการที่อยู่ฝั่งเดียวกับอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ คือ 333 Riverside, The Tree Interchange ที่สร้างเสร็จแล้ว และ Chewathai Residence Bang Pho ที่กำลังก่อสร้างอยู่ คาดว่าน่าจะเสร็จช่วงปลายปี 2560 นี้ครับ และมี 1 โครงการเดียวเท่านั้นที่อยู่ตรงข้ามกับอาคารรัฐสภาแห่งใหม่พอดีเลย นั่นคือ The Tree Rio Bang Aor Station (เดอะ ทรี ริโอ บางอ้อ สเตชั่น) ซึ่งโครงการนี้ใกล้จะเสร็จแล้วครับ อาจจะเข้าอยู่ได้ในประมาณ มิ.ย. 2560 นี้

333 Riverside

  ที่ตั้ง ถ.ประชาราษฏร์สาย 2 ลักษณะโครงการ  คอนโด 41,42 ชั้น จำนวนยูนิต 950 ยูนิต ปีที่สร้างเสร็จ ปี 2560 ราคาเริ่มต้น 5.89 ลบ. เฉลี่ย 140,000 บ./ตร.ม. ยอดขาย ประมาณ 95%

The Tree Interchange

  ที่ตั้ง ถ.ประชาราษฏร์สาย 2 ลักษณะโครงการ  คอนโด 39,40 ชั้น จำนวนยูนิต 1,724 ยูนิต ปีที่สร้างเสร็จ ปี 2557 ราคาเริ่มต้น 2.49 ลบ. เฉลี่ย 90,000 บ./ตร.ม. ยอดขาย ประมาณ 90%

Chewathai Residence Bang Pho

  ที่ตั้ง ถ.ประชาราษฏร์สาย 2 ลักษณะโครงการ  คอนโด 24 ชั้น จำนวนยูนิต 172 ยูนิต ปีที่สร้างเสร็จ ปี 2560 ราคาเริ่มต้น 3.9 ลบ. เฉลี่ย 125,00 บ./ตร.ม. ยอดขาย ประมาณ 30%

The Tree Rio Bang Aor Station

  ที่ตั้ง ถ.จรัญสนิทวงศ์ ลักษณะโครงการ  คอนโด 41 ชั้น จำนวนยูนิต 1,412 ยูนิต ปีที่สร้างเสร็จ ปี 2560 ราคาเริ่มต้น 2.19 ลบ. เฉลี่ย 80,000 บ./ตร.ม. ยอดขาย ประมาณ 90%
 

ภาพวิวแต่ละโครงการ

333 RIVERSIDE

 

THE TREE INTERCHANGE

 

CHEWATHAI RESIDENCE BANG PHO

 

THE TREE RIO BANG AOR STATION

The Tree Rio บางอ้อ สเตชั่น คือที่สุดของที่อยู่อาศัยริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่จะเปิดมุมมองใหม่ให้กับการใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานคร บนทำเลที่คาดไม่ถึงไม่ว่าจะเป็นวิวโค้งน้ำเจ้าพระยา ในอีกมุมมองที่แปลกใหม่ภาพสีทองอร่ามของรัฐสภา ที่พร้อมจะส่องสว่างไปทั่วน่านฟ้าเมื่อแสงแดดตกกระทบการเชื่อมต่อผู้อยู่อาศัยเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพอย่างสะดวกสบายด้วยข้ามแยกสะพานเกียกกายแห่งใหม่ และโครงการรถไฟฟ้าและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ถูกออกแบบมาอย่างครบครัน เพื่อตอบรับกับการใช้ชีวิต อย่างสมดุลในเมืองหลวงให้สายน้ำเป็นจุดเริ่มต้นของ การหล่อเลี้ยงชีวิตแบบใหม่ที่มีคุณภาพแล้วนิยามของ กรุงเทพจะไม่ใช่มหานคร ที่แออัดอีกต่อไป The Tree Rio บางอ้อ สเตชั่น เป็นอาคารพักอาศัยสูง 39 ชั้น + Sky lounge รวม 41 ชั้น จำนวน 1,412 ยูนิต + ร้านค้า 7 ห้อง มีที่จอดรถ 608 คัน (ไม่รวมซ้อนคัน) ประมาณ 41.8% พื้นที่โครงการ 10-0-84 ไร่ โครงการคาดว่าจะแล้วเสร็จ มิ.ย. 2560
*ภาพโครงการทั้งหมดเป็นภาพจำลองจากคอมพิวเตอร์

อ่านรายละเอียด THE TREE RIO BANGAOR STATION

Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (391)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (182)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (19)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon