realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

น้ำท่วม กรุงเทพ 2560

20 Oct 2017 8.6K

น้ำท่วม กรุงเทพ 2560

20 Oct 2017 8.6K
 

น้ำท่วม กรุงเทพ 2560

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า ช่วงนี้ฝนตกหนักบ่อยและเเรงมากขึ้นทุกวัน แถมน้ำท่วมมากมายจนเกือบเข้าไปในบ้านเสียอีก ชาวกรุงเทพฯคงจะรู้สึกเบื่อไม่น้อยที่จะต้องเจอกับปัญหารถติด น้ำท่วมขัง เฉอะแฉะ บ่อยๆ บทความนี้ จะพูดถึงสาระความรู้ สาเหตุและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแก้อย่างไร? รวมทั้งอัพเดทข่าวสารอุโมงค์ระบายน้่ำของกรุงเทพฯ จะป้องกันน้ำท่วมได้เเค่ไหน?   ซึ่งตอนนี้ระบบการระบายน้ำของกรุงเทพฯ สร้างเสร็จและเปิดใช้งานอยู่ 8 แห่ง สามารถระบายน้ำได้ 215.5 ลบ./วินาที ซึ่งเท่ากับ นำน้ำออกจากสระว่ายน้ำภายใน 12 วินาที และมีแผนจะสร้างอุโมงค์ระบายน้ำอีก 5 แห่งในอนาคต ปัจจุบันอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อ เปิดใช้งานได้แล้ว และ อุโมงค์ระบายน้ำคองเปรมประชากร กำลังเสนอเข้ารัฐอนุมัติ แต่ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าคับว่าสาเหตุที่ทำให้น้ำท่วมบ่อยๆคืออะไร?
 

ต้นตอน้ำท่วมในกรุงเทพ?

 "ฝนตกหนัก"

ปริมาณน้ำฝนมากกว่า 60 มม./ชม. เกินกว่าที่ระบบระบายน้ำจะรับได้ (วัดเองง่ายๆด้วยการเอาภาชนะมาวางรองไว้ 1 ชม. แล้วดูว่ามีน้ำฝนที่ขังอยู่ในภาชนะสูงกี่มม.) ทำให้น้ำเกิดการรอระบาย ไม่สามารถระบายได้ทัน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้น้ำท่วมนานมาจากปัจจัยเหล่านี้

ขยะอุดตัน

ขยะที่เก็บขึ้นจากคลองมากถึง 10 ตัน/วัน ทำให้อุดตันระบบระบายน้ำที่มีอยู่ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร และระบายได้ช้าลง

ระบายน้ำไม่ทัน

ระบบการระบายน้ำของกทม.รับมือได้อยู่ที่ 60 มม./ชม. ถ้าวันไหนฝนตกเกิน 100 มม./ชม.จะทำให้ระบบระบายน้ำไม่สามารถระบายได้ทัน

กายภาพเมือง

กรุงเทพเป็นที่ราบลุ่ม มีชั้นดินเหนียวสลับกับชั้นน้ำบาดาล เมื่อฝนตกหนักทำให้ดินทรุดตัวต่ำลง กระทบต่อระบบระบายน้ำ รวมทั้งในเมืองขาดพื้นที่ดิน หรือ สวนซึ่งช่วยในการซึมซับน้ำ ทำให้น้ำไหลไปตามทิศทางได้ช้าจากเหนือลงใต้ออกสู่อ่าวไทย
 

อัพเดทอุโมงค์ระบายน้ำกรุงเทพฯ

เปิดแล้ว “อุโมงค์ระบายน้ำบางซื่อ”

ผู้ว่ากทม. เปิดใช้ระบบสูบน้ำอุโมงค์ระบายน้ำบางซื่อ จากคลองลาดพร้าวถึง ม.เจ้าพระยา เริ่มจากบริเวณ ถ. รัชดาภิเษก ลอดใต้คลองบางซื่อไปออก ม.เจ้าพระยาบริเวณเกียกกาย โดยสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง ในพื้นที่เขตดุสิต บางซื่อ พญาไท จตุจักร ดินแดงและเขตห้วยขวาง รวม 56 ตร.กม. และสามารถรองรับปริมาณน้ำฝนได้ไม่น้อยกว่า 60 มม./ชม. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำได้เร็วยิ่งขึ้น

Info : pptvhd36 (7 ก.ย. 60)

เตรียมสร้างอุโมงค์คลองเปรมประชากร

กทม.เสนองบประมาณรัฐก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองเปรมประชากร เร่งระบายน้ำในพื้นที่หลักสี่ ดอนเมือง ลาดพร้าว รามอินทรา และ บางเขน ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบเพราะ ปัจจุบันยังไม่มีอุโมงค์ระบายน้ำรองรับ ใช้การระบายน้ำในระบบรอง โดยใช้คลองสายต่างๆ ทั้งคลองหลักและคลองสายย่อย เป็นตัวช่วยในการระบายน้ำไปก่อน

Info : thaipbs (25 ก.ย. 60)

ภาพในอาคารสูบน้ำ ของอาคารระบายน้ำบางซื่อ
ภาพ ภายในอุโมงค์ระบายน้ำใต้ดิน  Info : คมชัดลึก
กทม.เสนอรัฐของบสร้างอุโมงค์ระบายน้ำเพิ่มอีก 2 แห่ง
โดยปัจจุบัน กทม.มีอุโมงค์ระบายน้ำรวม 7 แห่ง รองรับน้ำได้จำนวน 155.5 ลบ.ม.ต่อวินาที และ กทม.ยังมีแผนอุโมงค์ระบายน้ำที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 2 แห่ง คืออุโมงค์ระบายน้ำบึงหนองบอน (อยู่ระหว่างก่อสร้าง) และ อุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อ (เสร็จในเดือนส.ค.) แต่ไม่เพียงพอต่อสภาพพื้นที่ ทางกทม.จึงมีแผนการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำเพิ่มเติม โดยเป้าหมายในปี 61 จะเริ่มการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำอีก 2 แห่งคือ
โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ ถึงลาดพร้าว บริเวณซ.ลาดพร้าว 130 เพื่อช่วยระบายน้ำจากพื้นที่ฝั่งตะวันออก และ อุโมงค์ระบายน้ำคลองทวีวัฒนา ช่วยระบายน้ำแก้ปัญหาคลองทวีวัฒนาในช่วงคอขวด ทำให้น้ำระบายได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยทั้งสองอุโมงค์ กทม.ได้ออกแบบเสร็จแล้วและมีความพร้อมในการก่อสร้างมากที่สุด ซึ่งทาง กทม.จะยื่นของบสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อก่อสร้างรวม 4,010 ลบ. และ คาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างได้ในปลายปี 61 นี้  Info : thaich8 (15 สิ.ค. 60)  
 

แผนสร้างอุโมงค์ระบายน้ำกรุงเทพฯ

การสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำบริเวณที่มีปัญหาน้ำท่วม เพื่อเร่งระบายน้ำจากพื้นที่น้ำท่วมขังให้ระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรงไม่ต้องผ่านระบบคลองตามปกติ และยังช่วยลดระดับน้ำในคลองระบายน้ำสายสำคัญให้มีระดับต่ำได้รวดเร็วเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในคลอง
ปัจจุบัน กทม. อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ยักษ์ 1 แห่ง คืออุโมงค์บึงหนองบอน และอยู่ระหว่างดำเนินการอีก 4 แห่ง ถ้าสร้างได้ทั้งหมดจะมีความยาวรวม 115 กม. มีประสิทธิภาพการระบายน้ำรวม 505 ลบ.ม./วินาที = นำน้ำออกจากสระว่ายน้ำประมาณ 3 วินาที
 

อุโมงค์ระบายน้ำในในปัจจุบัน

ปัจจุบัน กทม. มีอุโมงค์ระบายน้ำที่สร้างเสร็จและเปิดใช้งาน 8 แห่ง ความยาวรวม 32 กม. มีประสิทธิภาพการระบายน้ำรวม 215.50 ลบ.ม./วินาที ดังนี้
1.อุโมงค์ระบายน้ำ ซ.สุขุมวิท 26 ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังใน ถ.สุขุมวิทระหว่าง ซ.สุขุมวิท 22-28 ใน ซ.สุขุมวิท 26 และบริเวณใกล้เคียง
2.อุโมงค์ระบบระบายน้ำพื้นที่เขตพญาไท แก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เขตพญาไท ถ.พหลโยธิน ช่วงจาก ซ.พหลโยธิน 5-11 และ ถ.พระราม 6 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ตร.กม.
3.สถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำ ซ.สุขุมวิท 36 ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมใน ถ.สุขุมวิทและบริเวณ ซ.สุขุมวิท 36
4.อุโมงค์ระบายน้ำ ซ.สุขุมวิท 42 ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมใน ถ.สุขุมวิทและ ซ.สุขุมวิท 42
5.อุโมงค์ระบบผันน้ำคลองเปรมประชากร แก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ตอนบนของกรุงเทพมหานคร เขตบางซื่อ จตุจักร หลักสี่ บางเขน และ ดอนเมือง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3.50 ตร.กม.
6.อุโมงค์ระบายน้ำบึงมักกะสัน ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เขตวัฒนา ปทุมวัน ราชเทวี พญาไท ห้วยขวาง และดินแดง  ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 26 ตร.กม.
7.อุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ&ลาดพร้าว ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เขตห้วยขวาง บางกะปิ บึงกุ่ม วัฒนา วังทองหลาง และ ลาดพร้าว ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 50 ตร.กม.
8.อุโมงค์ระบายน้ำคลองบางซื่อ ป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง ในพื้นที่เขตดุสิต บางซื่อ พญาไท จตุจักร ดินแดงและเขตห้วยขวาง รวม 56 ตร.กม.
 

อุโมงค์ระบายน้ำทำงานอย่างไร ?

อุโมงค์ระบายน้ำ  เป็นตัวกลางสำคัญที่เชื่อมผ่าน น้ำจากคลองไหลสู่ ม.เจ้าพระยา โดยกระบวนการระบายน้ำจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ปริมาณน้ำจากคลองเกินระดับที่รองรับไว้ ไหลเข้าสู่อาคารรับน้ำซึ่งเป็นตัวผ่านเข้าอุโมงค์ระบายน้ำไหลไปสู่พื้นที่เตรียมน้ำออก เมื่อระดับแม่น้ำอยู่ในสภาะปกติจึงระบายน้าออกสู่ ม.เจ้าพระยาได้
ทั้งนี้จะเห็นว่าอุโมงค์ระบายน้ำเป็นตัวแปรสำคัญในการเคลื่อนย้ายมวลน้ำให้ถ่ายเทออกสะดวก ในทางเดียวกันเราต้องระวังหากมีสิ่งอุดตัน อย่างขยะ สิ่งสกปรกเน่าเสียมาอุดช่องท่อระบายน้ำซึ่งทำให้ถ่ายเทช้าลงและทำให้น้ำเน่าเหม็น เกิดน้ำเสียขังบนพื้นดินอีกด้วย
 

แก้มลิงป้องกันน้ำท่วมระยะยาว

โครงการแก้มลิง 
แก้มลิงเป็นโครงการในพระราชดำริ ของร.9 ทำเพื่อช่วยป้องกันและเเก้ไข ความรุนเเรงของปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ โดยอาศัยสภาพธรรมชาติของกทม. คือพื้นที่ลุ่มรับน้ำ โดยหาพื้นที่กักเก็บน้ำ เมื่อฝนตกหนักให้นำน้ำเข้ามาเก็บพักพื้นที่รับน้ำไว้ชั่วคราว เมื่อน้ำในคลองมีสภาพปกติจึงระบายน้ำออกจากพื้นที่เก็บน้ำ โดยใช้หลักกลไกตามเเรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) นอกจากนี้ยังช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ เมื่อถูกระบายสู่คูคลอง จะไปบำบัดน้ำเน่าเสียให้เจือจางลง และในที่สุดน้ำเหล่านี้จะผลักดันน้ำเสียให้ระบายออกไปได้
ปัจจุบันกรุงเทพ มีพื้นที่รองรับและเก็บกักน้ำไว้ จำนวน 25 แห่ง สามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 13.04 ล้านลบ.ม.  โดยฝั่งตะวันออกของ ม.เจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) จำนวน 23 แห่ง เก็บกักน้ำได้ประมาณ 7.03 ล้านลบ.ม.  ฝั่งตะวันตกของ ม.เจ้าพระยา (ฝั่งธนบุรี) จ่านวน 2 แห่ง เก็บกักน้ำได้ประมาณ 6.01 ล้านลบ.ม. ถ้าสามารถสร้างได้หมด 37 แห่งจะเก็บน้ำได้ถึง 19.48 ล้านลบ.ม. หรือเท่ากับสระว่ายน้ำโอลิมปิค 7,500 สระทีเดียว
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับอุโมงค์ระบายน้ำ กทม.
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon