realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

เปิดรายชื่อถนน 66 สาย เก็บค่าที่จอดรถ

03 Jan 2019 3.1K

เปิดรายชื่อถนน 66 สาย เก็บค่าที่จอดรถ

03 Jan 2019 3.1K
 
เมื่อเดือนกันยายน ทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ออกประกาศฉบับใหม่เกี่ยวกับที่จอดยานยนต์ และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนต์ บนถนนกว่า 66 สายทั่วกรุงเทพฯ โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา  จริงๆ แล้ว ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การกำหนดที่จอดรถและค่าธรรมเนียมนี้ มีการกำหนดบังคับใช้มานาน ตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว แต่หลายๆ คนอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่งเนื้อหาหลักของประกาศกรุงเทพมหานครฉบับนี้ เป็นการยกเลิกประกาศฯ ฉบับเก่าทั้งหมด 5 ฉบับ ตั้งแต่ ปี 37 - 47 และรวมไว้เป็นฉบับเดียว โดยถนนในกรุงกว่า 65 สาย ยังคงกำหนดที่จอด และอัตราค่าธรรมเนียมเหมือนที่ประกาศใช้ครั้งแรก แต่มีเฉพาะ ถ.ราชดำริ ที่มีการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ออกกำลังกายบริเวณสวนลุมพินี ส่วนรายละเอียดว่ามีถนนเส้นไหน ช่วงไหน ในกรุงเทพฯ หรือรถแต่ละประเภทมีการกำหนดอัตราค่าจอดเป็นเท่าไหร่ อ่านต่อได้ในบทความนี้เลยครับ

ความเป็นมาของการจัดเก็บค่าจอด

การกำหนดพื้นที่และค่าจอดรถ เริ่มต้นตั้งแต่มีการบังคับใช้ ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ฉบับแรก เมื่อปี 37 เนื่องจากต้องการจัดระเบียบการจราจรในเขตกรุงเทพฯ นอกเหนือจากเวลาห้ามจอด โดยถนนแต่ละเส้นที่ถูกกำหนด จะมีการพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ของถนนนั้น และจำนวนหลังคาเรือนของผู้อยู่อาศัยโดยรอบ ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งหมด 66 สาย ส่วนใหญ่จะอยู่พื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ
การมีข้อกำหนดที่ชัดเจนจากทางกรุงเทพฯ เป็นการช่วยบรรเทาปัญหาการจอดรถริมถนนในจุดที่ไม่เหมาะสม ส่งผลต่อการจราจรและผู้ใช้ท้องถนนทั่วไป รวมถึงช่วยป้องกันกลุ่มมิจฉาชีพ หรือบุคคลภายนอกเข้ามาจัดเก็บค่าจอดรถในถนนสาธารณะอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นการหาประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะที่ไม่ถูกต้อง โดยหลังการบังคับใช้ ทำให้ประชาชนมีที่จอดรถตามจุดต่างๆ ในเมือง สามารถจอดรถในจุดที่เหมาะสม ไม่ต้องเสียค่าปรับ หรือการจัดเก็บค่าจอดรถที่สูงเกินไป
 

รายชื่อและตำแหน่งของถนน 66 สาย ที่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียม

ในปัจจุบัน ได้มีการเก็บค่าที่จอดรถนอกเวลาห้ามจอด ทั้งหมด 66 เส้น ในกรุงเทพฯ โดยแต่ละเส้นจะถูกกำหนดเป็นช่วงใดช่วงหนึ่ง ในระยะตั้งแต่ไม่กี่ร้อยเมตรจนไปถึงเกือบห้ากิโลเมตร เช่น ถนนเจริญกรุง มีการกำหนดพื้นที่ตั้งแต่แยกถนนสนามไชย ถึงแยกถนนราชินี รวมเป็นระยะทางประมาณ 200 ม. หรือถนนพาหุรัด ตั้งแต่แยกถนนบ้านหม้อ ถึงแยกถนนจักรเพชร ระยะทางประมาณ 500 ม. เป็นต้น ซึ่งถนนแต่ละเส้นจะถูกกำหนดโดยพิจารณาจากเหตุผลที่ต่างกัน แต่มีอัตราค่าธรรมเนียมเท่ากันทั้งกรุงเทพฯ ตามแต่ละประเภทของรถยนต์ และจะจัดเก็บในช่วงเวลาตั้งแต่ 09.00 - 16.00 น.
   

อัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการจอดรถของแต่ละประเภท มีการจัดเก็บในอัตราที่ต่างกัน ซึ่งมีการแบ่งเป็น 2 อัตรา คือ เก็บค่าจอดรถชั่วโมงแรกอัตราหนึ่ง และอัตราในชั่วโมงถัดไปอีกอัตราหนึ่ง โดยเศษของชั่วโมง คิดเป็น 1 ชม. จะเห็นได้ว่า อัตราที่จัดเก็บในชั่วโมงแรกจะต่ำกว่าชั่วโมงที่ 2 ขึ้นไป เนื่องจากช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ต้องจอดรถในเวลาไม่นาน และโดยรวมค่าที่จอดจะอยู่ในอัตราที่ไม่สูงมากนัก เริ่มต้นที่ 5 - 80 บ. / ชม.  จากสถิติการเก็บค่าที่จอดของกทม. ในปี 60 พบว่าสามารถจัดเก็บรายได้ 11.6 ลบ. บนถนน 65 สาย ส่วนริม ถ.ราชดำริ เนื่องจากเป็นพื้นที่จอดรถที่มีไม้กั้น และมีเจ้าหน้าที่จัดเก็บอย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถจัดเก็บได้ถึง 7.3 ลบ. จากสถิติที่ผ่านมา แต่ละปี กทม. สามารถจัดเก็บรายได้รวม 66 สาย อยู่ที่ไม่เกิน 20 ลบ. ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละปี
 

ข้อเปลี่ยนแปลงระหว่างประกาศเดิมและประกาศใหม่

โดยประกาศ กทม. ปี 61 มีข้อเปลี่ยนแปลงจากฉบับก่อนๆ เพียงแค่ช่วงเวลาที่ยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมที่จอดรถ บริเวณ ถ.ราชดำริ ตั้งแต่แยก ถ.สารสิน - ลานพระบรมรูป ร.6 เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่มาออกกำลังกายที่สวนลุมพินี ซึ่งมีเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน และส่วนใหญ่จะเป็นการจอดเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น
จุดที่มีการปรับเปลี่ยน คือ เรื่องของช่วงเวลาที่ยกเว้นการเก็บเงิน จากเดิมสามารถจอดได้ช่วง 04.00 - 08.00 น. , 17.00 - 19.00 น. ของทุกวัน และในวันอาทิตย์สามารถจอดได้ตั้งแต่ 04.00 - 24.00 น. แต่ในปัจจุบัน ถูกปรับมาเป็นยกเว้นค่าธรรมเนียมในช่วง 04.00 - 08.00 น. ของทุกวันแทน
 

จุดสังเกตการจัดเก็บค่าจอดรถที่ถูกกฎหมาย

ซึ่งการจัดเก็บค่าที่จอดรถอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สามารถสังเกตได้อย่างง่ายๆ 3 จุดด้วยกัน ได้แก่ อันดับแรก ต้องมีป้ายแสดงอัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจอดยานยนต์ ต่อมา จะต้องมีเจ้าหน้าที่กรุงเทพฯ ทำหน้าที่เก็บค่าธรรมเนียม เป็นเจ้าหน้าที่จากสำนักการคลัง รวม 71 คน ประจำอยู่ 66 ช่วงถนน โดยจะต้องใส่เครื่องแบบราชการสีกากี และคล้องบัตรข้าราชการ ที่มีตราสัญลักษณ์ กทม. พร้อมชื่อและรูปถ่าย
สุดท้าย เมื่อจ่ายเงิน จะต้องจ่ายในอัตราที่กำหนด และทางเจ้าหน้าที่จะต้องให้ใบเสร็จ ซึ่งมีสีตามวันที่จอด เช่น ถ้าเป็นวันจันทร์ จะได้ใบเสร็จเป็นสีเหลือง โดยในใบเสร็จจะต้องมีตราสัญลักษณ์ประจำกรุงเทพฯ กำกับอยู่ด้วย แต่หากผู้ใดพบเจ้าหน้าที่ไม่ออกใบเสร็จให้ หรือมีบุคคลอื่นซึ่งไม่ได้สวมเครื่องแบบตามที่กล่าวข้างต้นมาจัดเก็บค่าจอด สามารถถ่ายรูปและวิดีโอ เพื่อเป็นหลักฐานมาร้องเรียนกับทาง กทม. 
 

วิเคราะห์ภาพรวม

การกำหนดพื้นที่และค่าธรรมเนียมการจอดรถ เป็นข้อบังคับที่มีการกำหนดขึ้นมากว่า 20 ปีแล้ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการที่ทางกรุงเทพฯ จัดทำขึ้นเพื่อจัดระเบียบการจราจร แต่ในปัจจุบัน อาจยังไม่สามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจน หรือมีประสิทธิภาพมากนัก เนื่องจากจำนวนเจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอที่จะดูแลพื้นที่ในถนนแต่ละช่วงอย่างทั่วถึง ไม่มีตัวกำหนดเวลาเริ่มต้น - สิ้นสุดการจอดที่ชัดเจน และยังสามารถจัดเก็บค่าจอดได้เฉพาะเวลาราชการ คือ ช่วงเวลา 09.00 - 16.00 น. เท่านั้น
นอกจากนี้ มีการกำหนดจุดจอดรถริมถนนเพียง 66 สาย ทำให้ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่หลายส่วนในกรุงเทพฯ ที่ยังคงมีปัญหาการจอดรถในจุดที่ไม่เหมาะสม หรือยังคงมีการจัดเก็บค่าจอดยังไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเป็นช่องโหว่จุดหนึ่งของข้อบังคับฉบับนี้ ส่วนในอนาคต กทม. อาจมีการร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อปรับปรุงการระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างแนวคิดตู้จ่ายเงิน บริเวณจุดจอดรถเหมือนต่างประเทศ ก็เป็นสิ่งที่ทาง กทม. มีแผนที่จะทำ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าเมื่อไหร่ อาจจะต้องใช้เวลาเพื่อพิจารณาในขั้นต่อไป
  Info : ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ ปี 2561 มติชนออนไลน์ วันที่ 27 กันยายน 2561
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon