realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

สวนลอยฟ้าแห่งแรก "พระปกเกล้าสกายปาร์ค"

07 Aug 2018 12.3K

สวนลอยฟ้าแห่งแรก "พระปกเกล้าสกายปาร์ค"

07 Aug 2018 12.3K
 

 สวนลอยฟ้าแห่งแรกของไทย "พระปกเกล้าฯ สกายปาร์ค"

หลายคนยังคงสงสัยว่าสะพานเก่าๆ กึ่งกลางสะพานพระปกเกล้าฯ ที่คนสมัยก่อนเรียกกันติดหูว่า "สะพานด้วน" คืออะไร? ทำไมถึงมาอยู่ตรงนี้? และทำไมถึงทิ้งร้างมานาน? อาจจะมีคนเคยได้ยินมาบ้างว่าเป็นโครงสร้างด้วนๆนี้ เป็นโครงสร้างเดิมของโครงการรถไฟฟ้า "ลาวาลิน" แต่.."ลาวาลิน"คืออะไร? วันนี้เราเลยขอนำเสนอบทความเล่าย้อนความเป็นมาของ "สะพานด้วน" สู่ "พระปกเกล้าฯ สกายปาร์ค" สวนลอยฟ้าแห่งแรกในประเทศไทย ที่กำลังจะเปิดให้พวกเราใช้ภายในเดือนมิถุนายน 2563 นี้
 

Timeline ที่มาที่ไปจาก "ลาวาลิน" สู่ "พระปกเกล้าฯ สกายปาร์ค"

โครงการเริ่มจาก พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ที่เริ่มดำรงตำแหน่งในปี 2522 ผุดโครงการรถไฟฟ้าสายแรก ลาวาลิน ระยะเวลาตั้งแต่ปี 2522-2527 มีการศึกษาเส้นทางมาโดยตลอดโดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น จนในปี 2527 สรุปออกมาได้ทั้งหมด 3 เส้นทาง และมีการเปิดเสนอให้ร่วมประมูลโครงการ โดยให้ระยะเวลาสัมปทานทั้งหมด 30 ปี บริษัทที่ชนะการประมูลและได้เซ็นสัญญาคือ บริษัท ลาวาลิน (SNC- Lavalin) จากแคนนาดา โดยอนุมัติงบประมาณ 50,000 ลบ. หลังจากนั้นก็ได้มีการก่อสร้าง และมีปัญหาระหว่างนั้นมาเรื่อยๆ สาเหตุจากการคำนวณงบประมาณผิดพลาด ทำให้ในปี 2534 โครงการได้ถูกยุบไป และปล่อยทิ้งไว้เป็นโครงสร้างร้างตั้งแต่นั้นมา  เมื่อปี 2540 ได้มีการพิจารณาทำรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม และสายสีม่วง โครงสร้างที่ถูกทิ้งร้างไว้ของทั้ง ลาวาลิน และโฮปเวลล์ จึงถูกพิจารณานำเอากลับไปใช้ โดยเฉพาะโครงสร้างของลาวาลินบริเวณกึ่งกลางสะพานพระปกเกล้าฯ ที่เป็นเส้นทางผ่านของรถไฟฟ้าสายสีม่วงเข้ม แต่แล้วก็ได้ถูกยกเลิกไป เนื่องจากว่าเส้นทางที่ผ่านนั้นได้ถูกศึกษาและออกแบบให้เป็นรูปแบบใต้ดิน คือการขุดลอดใต้แม่น้ำ การที่พยายามใช้โครงสร้างเดิมจะทำให้เสียงบประมาณเพิ่มขึ้น 
ปี 2559 ได้มีนโยบายเสนอโดยผู้ว่ากทม. พล.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงกรุงเทพในหลายๆ ด้าน การที่ฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวภายในกรุงเทพฯ ก็เป็นอีกหนึ่งหัวข้อหลักที่ได้มีการนำเสนอไป โครงสร้างสะพานร้างได้ถูกเสนอให้ทำเป็นสวนลอยฟ้า หลังจากที่ถูกปล่อยร้างมานาน 
โดยเรียกเป็นชื่อโครงการว่า "พระปกเกล้าฯ สกายปาร์ค" โดยจะมีแผนปรับปรุงเป็นสวน เส้นทางสำหรับเดิน และจักรยาน เป็นระยะทาง 280 ม. เปิดให้เป็นสาธารณะให้ทุกคนสามารถมาใช้ได้ รวมถึงผู้พิการ เพราะได้มีการทำลิฟท์โดยเฉพาะเพื่อให้คนชรา และคนพิการได้เข้าถึงพื้นที่ได้ด้วย
 

ย้อนความโครงการรถไฟฟ้าสายแรก "ลาวาลิน"

  รูปภาพ : สะพานพระปกเกล้าในปี 2527    INFO : Render Thailand (DEC 2017)

โครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน (Lavalin Skytrain) เริ่มต้นในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เริ่มศึกษาโครงการมาตั้งแต่ปี 2522  "ลาวาลิน" มาจากชื่อบริษัทจากแคนาดาที่ชนะการประมูลโครงการ โดยสัญญานี้ได้มีการร่วมมือกับทางพิเศษแห่งประเทศไทย (EXAT) โดยเป็นโครงการรถไฟฟ้าแห่งแรกของประเทศไทยในพื้นที่กรุงเทพฯ และคาดว่าจะสร้างเสร็จพร้อมเปิดใช้ในปี 2529 แต่ทว่าโครงการนี้ก็ได้ยืดเยื้อมาเรื่อยๆ และเงียบหายไปในปี 2535 เหลือไว้เพียงแต่โครงสร้างตอม่อใหญ่ๆ ร้างๆ ตั้งอยู่กึ่งกลางสองสะพานที่หลายๆ คนขับรถผ่านโซนสะพานพุทธ และสะพานพระปกเกล้าจะเห็นบ่อยๆ  ซึ่งรวมๆ ระยะเวลาที่ถูกทิ้งร้างไว้ก็ราวๆ กว่า 30 ปี

INFO : archive.today (JUN 2003)

INFO : archive.today (JUN 2003)

แผนที่แสดงเส้นทางเดินรถของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลินชี้ให้เห็นว่าเส้นทางทั้ง 3 เส้นที่ได้กำหนดไว้นั้นไม่ได้เน้นแหล่งที่ทำงานเหมือนสายรถไฟปัจจุบันที่เอาแต่พุ่งเข้า CBD แต่สายลาวาลินที่จะถูกสร้างสมัยก่อนนั้นจะเน้นการเชื่อมต่อพื้นที่ที่มีคนอยู่อาศัยจำนวนมากอย่าง พระราม 4, สามเสน, สุขุมวิท เป็นต้น เส้นทางทั้ง 3 เส้นของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลินได้แก่ สายพระราม 4 (หมอชิต-อ่อนนุช), สายสาทร (ลาดพร้าว-ตลาดพลู) และ สายสะพานพุทธ (เอกมัย-ดาวคะนอง) โดยในรถไฟฟ้าแต่ละสายจะมีระยะห่างระหว่างสถานีอยู่ที่ 700-1300 เมตร คาดหวังว่าจะมีคนกรุงใช้บริการประมาณ 200,000 คนต่อวัน โครงการนี้ถูกออกแบบให้เป็นระบบรางคู่ มีทั้งหมด 55 สถานี โดยรูปแบบสถานีมีทั้งแบบ ยกระดับ ระดับพื้นดิน และใต้ดิน ขึ้นอยู่กับพื้นที่และอาคารโดยรอบของแต่ละสถานี เดินรถเข้าสู่สถานีทุกๆ 6-8 นาทีและ 3-4 นาทีในช่วงเวลาเร่งด่วน โดยมีสถานีร่วม (Interchange Node) ทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่ สถานีสะพานขาว (สายพระราม 4-สายสะพานพุทธ) สถานีลุมพินี (สายพระราม 4-สายสาธร) สถานีตากสิน (สายสาธร-สายสะพานพุทธ) สถานีมักกะสัน (สายสาธร-สายสะพานพุทธ) และมีศูนย์ซ่อมบำรุงที่ห้วยขวาง ซึ่งเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน

INFO : archive.today (JUN 2003)

 

โครงสร้างของรถไฟฟ้าลาวาลินจะนำมาใช้ในโครงการสายสีม่วงใต้ ?

หลังจากที่โครงสร้างจากโครงการรถไฟฟ้าลาวาลินได้มีการปล่อยร้างไว้มาช้านาน รัฐบาลก็ได้มีการเล็งเห็นว่าจะนำโครงการสร้างกลับมาใช้ใหม่ เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีม่วง (เตาปูน-ครุใน) จะมีเส้นทางที่ซ้อนทับกับสายลาวาลิน ในบริเวณสะพานพระปกเกล้า
ซึ่งแผนแรกจะใช้โครงสร้างเดิมของรถไฟฟ้าลาวาลินที่เป็นโครงสร้างลอยฟ้า อยู่กลางสะพานพระปกเกล้า แต่เมื่อศึกษาเส้นทางแล้วนั้นพบว่า เหมาะกับการทำเส้นทางใต้ดินมากกว่า แผนการใช้โครงสร้างนั้นจึงล่มไป เส้นทางสายสีม่วงจึงจะมีแผนเปลี่ยนเป็นลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปกเกล้า -สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ แล้วเข้าสู่ฝั่งธนบุรีที่ถนนประชาธิปก โดยจะมีสถานีอยู่หน้าโรงเรียนศึกษานารี ชื่อสถานี "สะพานพุทธ" คลิ้ก! เพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม

สรุปโครงสร้างนี้จะทำอย่างไรต่อไป?

“กรุงเทพ 250”

เมื่อปีที่แล้ว (2559) ทางกรุงเทพมหานคร และ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) เนื่องในวาระครบ 250 ปี กรุงเทพมหานคร ในปี 2575 ได้มีการร่วมมือจัดทำแผนแม่บทโครงการ “กรุงเทพ 250” ซึ่งเป็นโครงการฟื้นฟูเมืองของกรุงเทพฯ ให้มีประสิทธิภาพ และกลายเป็นมหานครระดับโลก โดยมี “โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ทางสัญจรบนโครงสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สะพานพระปกเกล้า” อยู่ในพื้นที่นำร่องของโครงการย่านกะดีจีน-คลองสาน

แผนโครงการกรุงเทพฯ 250

INFO : issuu (JUN 2018)

UDDC คืออะไร ?

UDDC ย่อมาจาก The Urban Design & Develop Center เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งในปี 2555 หน้าที่คือการออกแบบและพัฒนาเมือง โดยเน้นเรื่องการฟื้นฟูเมือง (Urban Renewal) บริเวณพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อผลักดันให้เกิดโครงการฟื้นฟูเมืองอย่างเป็นรูปธรรม
 

ปรับปรุงสะพานด้วนเป็น "พระปกเกล้าสกายพาร์ค"

หลายๆ คนจะเรียก บริเวณช่องกลางระหว่างสะพานพระปกเกล้า-สะพานพุทธ กันติดปากว่า"สะพานด้วน " หลังจากที่ทิ้งร้างมาหลายสิบปี ปัจจุบันก็ได้มีนโยบายใหม่ที่จะปรับปรุงพื้นที่สะพานด้วนนี้ให้กลายเป็น สวนลอยฟ้าแห่งแรกของประเทศไทย ที่จะเรียกกันว่า "พระปกเกล้าฯ สกายปาร์ค" ซึ่งโครงการนี้เป็นหนึ่งในนโยบายการพัฒนากรุงเทพฯ "ผลักดันทันใจ แก้ไขทันที NOW!" ของผู้ว่ากทม.คนที่ 16 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ที่ผุดขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาปี 59
โดยประกอบไปด้วย "5 นโยบายทันใจ และ 19 นโยบายแก้ไขทันที" ซึ่งโครงการพระปกเกล้าฯ สกายปาร์คจะอยู่ในนโยบายที่เรียกว่า CARE : มุ่งเน้นการดูแลคุณภาพชีวิตประชาชน สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ โครงการส่วนใหญ่ที่อยู่ในนโยบาย CARE จะเป็นการฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ และเมื่อต้นปี 2561 ที่ผ่านมาก็ได้ฤกษ์อนุมัติงบโครงการสกายปาร์ค เป็นวงเงิน 129.6 ลบ. เตรียมดำเนินการก่อสร้างโดยใช้ระยะเวลา 360 วัน เพื่อเปิดใช้ภายในปีหน้า
ออกแบบให้มีเส้นทางเดิน – ทางจักรยานระยะทาง 280 ม. กว้าง 8.50 ม. เชื่อมการสัญจรระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีโดยผสานทางเดินนี้ไปกับสีเขียวของต้นไม้ที่ให้ความร่มรื่นตลอดทางเดิน และเป็นมุมพักผ่อน ชมวิวที่สวยงามของแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากบันไดขึ้นลง และทางลาดแล้วนั้น จะมีการก่อสร้างลิฟท์ให้ผู้ใช้รถเข็นสามารถมาใช้งานสวนลอยฟ้าได้อย่างสะดวกอีกด้วย

แบบร่างโครงการ "พระปกเกล้าสกายพาร์ค"

 

ภาพบรรยากาศจำลอง

 
 
 

ภาพบรรยากาศจริง (อัปเดต 14 พ.ค. 63)

IMAGE : Facebook Page ผู้ว่าฯ อัศวิน
 
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon