realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

ภาษีมรดก

24 Nov 2015 88.0K

ภาษีมรดก

24 Nov 2015 88.0K
 

พ.ร.บ.ภาษีมรดก มีผลบังคับใช้ ก.พ. 2559

เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2558 พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ.2558 ว่าด้วยภาษีการรับให้ ในกรณีที่โอนทรัพย์สมบัติก่อนผู้ให้เสียชีวิต ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดย พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับนี้ จะมีผลบังคับใช้ในอีก 180 วัน นับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีเจตนาที่จะผลักดันให้ประเทศไทยมีการออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวมให้ได้มากที่สุด ซึ่งกฎหมายเก็บภาษีมรดก ถือว่ามีความสำคัญมากฉบับหนึ่ง โดยเชื่อว่าการเรียกเก็บภาษีมรดก จะช่วยลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำของฐานะทางเศรษฐกิจในสังคม อีกทั้งจะทำให้รัฐจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นเป็นงบประมาณเพื่อนำไปพัฒนาประเทศต่อไป INFO : สำนักข่าวไทย วันที่ 8 ส.ค. 2558      ภาษีมรดก คือ การเก็บภาษีจากทรัพย์สินของผู้ที่เสียชีวิต หรือเก็บจากทายาทหรือผู้ที่ได้รับทรัพย์สินนั้น ซึ่งภาษีมรดกสามารถแบ่งได้ เป็น 2 ประเภท คือ

1. ภาษีกองมรดก (Estate tax)

เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากกองมรดกก่อนแล้วจึงแบ่งทรัพย์สินมรดกตามพินัยกรรม ดังนั้น ผู้ที่มีสิทธิรับทรัพย์สินทุกคนจะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่เท่ากัน ไม่ว่าจะได้รับทรัพย์สินเป็นเงินมากหรือน้อยก็ตาม ประเทศที่ใช้ภาษีกองมรดก เช่น สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ เป็นต้น

2. ภาษีการรับมรดก (Inheritance tax)

เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้รับมรดกแต่ละคน คิดภาษีตามมูลค่าของทรัพย์สินที่ได้รับ อีกทั้งความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับมรดกและผู้ที่เสียชีวิตก็มีผลต่อการคิดอัตราภาษีเช่นกัน  ประเทศที่ใช้ภาษีการรับมรดก เช่น ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส ไทย(2559) เป็นต้น
  นอกจากภาษีมรดกทั้งสองประเภทดังกล่าวแล้ว มักมีการเก็บภาษีอีกประเภทหนึ่งนั่นคือ  ภาษีการรับให้ (gift tax) ควบคู่ไปกับการเก็บภาษีมรดกด้วย ภาษีการให้เป็นภาษีที่จะเรียกเก็บจากทรัพย์สินที่ผู้เสียชีวิตให้แก่ผู้อื่นก่อนเสียชีวิต เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหลีกเลี่ยงภาษีมรดก โดยทั่วไปจะเรียกเก็บจากทรัพย์สินที่ผู้เสียชีวิตให้แก่ผู้อื่นก่อนเสียชีวิต 5-7 ปี 
    สำหรับประเทศไทยที่ไม่มีการเก็บภาษีมรดกมาแต่เดิม เพราะเมื่อเจ้ามรดกได้รับทรัพย์สินมาก็จะต้องเสียภาษีตั้งแต่แรกแล้ว จึงไม่ควรที่จะต้องเสียภาษีอีก เพราะมีลักษณะเป็นการซ้ำซ้อนกัน แต่หลังจาก กุมภาพันธ์ 2559 ทำให้ประเทศไทยต้องมีการเสียภาษีมรดกโดยใช้กฎหมาย พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ.2558 ซึ่งกฎหมายทั้งสองฉบับนี้มีความแตกต่างกันอยู่ สามารถดูรายละเอียดเปรียบเทียบจากตารางด้านล่าง     ภาษีการรับมรดก เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้รับมรดกแต่ละคน โดยมีการคิดภาษีตามมูลค่าของทรัพย์สินที่ได้รับ ซึ่งในประเทศไทยได้ออก พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558 สรุปเกี่ยวกับการเสียภาษีการรับมรดกได้ 9 ข้อ ดังต่อไปนี้

1. ใครมีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก

 

2. ทรัพย์สินประเภทใดที่ต้องเสียภาษี

1. อสังหาริมทรัพย์ 2. หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 3. เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน 4. ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน 5. ทรัพย์สินทางการเงินที่กาหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา  

3. ฐานภาษี (เท่าไหร่ถึงต้องเสีย)

มรดกที่ผู้รับมรดกได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับมาในคราวเดียวหรือหลายคราว ถ้ามรดกที่ได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละรายรวมกันมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีการรับมรดก

4. อัตราภาษี

กรณีที่ 1 กรณีที่ 2  

5. การยื่นแบบแสดงรายการและการชำระภาษี

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องยื่นแบบตามที่อธิบดีกำหนดภายใน 150 วัน นับแต่วันที่ได้รับมรดกซึ่งมีมูลค่ารวมเกินกว่า 100 ล้านบาท หรือภายในกำหนดเวลาที่อธิบดีขยายให้ โดยจะยื่นและชำระ ณ สานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา  

ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ

 

กำหนดเวลายื่นแบบ : กรณียื่นแบบและชำระภาษีตามกำหนด

 

กำหนดเวลายื่นแบบ : กรณีผู้เสียภาษีเสียชีวิตก่อนกำหนดเวลายื่นแบบ

 

6. การคำนวณมูลค่าทรัพย์สิน

กรณีอสังหาริมทรัพย์ ให้ใช้ราคาประเมินเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน หักด้วยภาระที่ถูกรอนสิทธิตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดในกฎกระทรวง กรณีหลักทรัพย์ หลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ถือเอาราคาของหลักทรัพย์ในเวลาสิ้นสุดเวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์ในวันได้รับมรดก กรณีอื่น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดในกฎกระทรวง

7. การประเมินภาษี

กรณียื่นแบบและชำระภาษีภายในกำหนดเวลา (150 วัน) เจ้าพนักงานประเมินต้องประเมินภาษีให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ยื่นแบบ (ขยายได้ไม่เกิน 3 ปี) โดยไม่ให้คิดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มหากมีภาษีที่ต้องเสียเพิ่มและได้ชำระภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง กรณีไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเวลา เจ้าพนักงานประเมินมีอานาจประเมินภาษีภายใน 10 ปีนับแต่วันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
 

8. เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม

เบี้ยปรับ - ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเวลาที่กำหนด เสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ - ยื่นแบบ แต่ไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือเท็จ ทำให้ภาษีขาด เสียเบี้ยปรับอีก 0.5 เท่าของภาษีที่เสียเพิ่ม - เบี้ยปรับอาจ งดหรือลดได้ ตามประกาศอธิบดี เงินเพิ่ม - ไม่ชำระภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลา ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน - กรณีที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนกาหนดเวลาการชำระภาษี และได้ชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่เลื่อนให้นั้น เงินเพิ่มลดลงเหลือร้อยละ 0.75 ต่อเดือน

9. โทษทางอาญา

1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท 2. ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3. ทำลาย ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 400,000 บาท ผู้มีส่วนในการกระทำความผิดจะได้ รับโทษ 4. จงใจยื่นข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคาอันเป็นเท็จ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 5. เจ้าพนักงานแจ้งข้อมูลแก่บุคคลอื่น โดยไม่มีอำนาจกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 สองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    ภาษีการให้รับ เป็นภาษีที่จะเรียกเก็บจากทรัพย์สินที่ผู้เสียชีวิตให้แก่ผู้อื่นก่อนเสียชีวิต เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหลีกเลี่ยงภาษีมรดก ซึ่งภาษีการรับให้แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ สังหาริมทรัพย์ กับ อสังหารริมทรัพย์ ในประเทศไทยมีการใช้กฎหมายนี้มาก่อน สามารถดูตารางเปรียบเทียบกฎหมายภาษีการรับให้ ฉบับเก่าและฉบับใหม่จากตารางด้านล่าง โดยสรุปเกี่ยวกับการเสียภาษีการรับให้มี 5 ข้อ ดังต่อไปนี้

1. ใครมีหน้าที่เสียภาษีการรับให้

2. ทรัพย์สินประเภทใดที่ต้องเสียภาษี

กรณีสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ทุกประเภทที่สามารถคำนวณเป็นเงินได้ กรณีอสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท

3. อัตราภาษี

กรณีสังหาริมทรัพย์ อัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท หรือ 10 ล้านบาท กรณีอสังหาริมทรัพย์ อัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เกินกว่า 20 ล้านบาท
 

4. เงินได้ที่ได้รับการยกเว้น

กรณีสังหาริมทรัพย์ - เงินได้ที่ได้รับจาก บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่ สมรส เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น - เงินได้ที่ได้รับจาก การอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา จากบุคคลซึ่ง มิใช่ตามข้อ 1 เฉพาะเงิน ได้ในส่วนที่ไม่เกิน 10 ล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น - เงินได้ที่ได้รับซึ่งผู้ให้แสดงเจตนาหรือเห็นได้ว่ามีความประสงค์ให้ใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง กรณีอสังหาริมทรัพย์ เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แก่บุตร ซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาทตลอดปีภาษี

5.  การยื่นแบบแสดงรายการภาษี

รณีสังหาริมทรัพย์ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในกำหนดเวลา ซึ่งสามารถเลือกเสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท หรือ 10 ล้านบาท หรือจะนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่น กรณีอสังหาริมทรัพย์ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในกำหนดเวลา ซึ่งสามารถเลือกเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินส่วนที่เกินกว่า 20 ล้านบาท หรือจะนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่น
   

"พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 และ

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2558 ใช้บังคับ

เมื่อพ้นกาหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559"

       INFO :  - พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 - พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2558 - Law Alliance Limited
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon