realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

รถไฟความเร็วสูง 2561

28 Feb 2018 50.3K

รถไฟความเร็วสูง 2561

28 Feb 2018 50.3K
 

อัพเดทข่าว รถไฟความเร็วสูง 2561

รถไฟความเร็วสูง อีกหนึ่งโครงการสำคัญของไทยที่ทุกคนต่างรอคอยว่าเมื่อไหร่จะเป็นรูปเป็นร่างเสียที เพราะไม่กี่วันมานี้ก็เพิ่งจะมีข่าวเรื่องการเจรจาตกลงกันของไทยกับญี่ปุ่นในเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสาย กทม-เชียงใหม่ ซึ่งสุดท้ายก็ยังตกลงกันไม่ได้ ทำให้แผนการที่จะเริ่มก่อสร้างเส้นทางนี้ในปี 62 ก็ต้องเลื่อนออกไปอีก ซึ่งจริงๆ นอกจากเส้นทาง กทม-เชียงใหม่ แล้ว ก็ยังมีอีก 3 เส้นทางด้วยกันที่ทาง Realist จะมาอัพเดทให้ผู้อ่านได้เห็นความคืบหน้าของโปรเจค คือ กทม - นครราชสีมา , กทม - ระยอง และ กทม - หัวหิน โดยเส้นทางที่กำลังจะเริ่มสร้างกันแล้วนั่นคือเส้น กทม - นครราชสีมา ซึ่งเป็นเส้นที่ไทยได้ร่วมมือกับจีนครับ แต่ที่ทำได้เร็วเพราะ คสช ใช้ม.44 เร่งรัด นั่นเอง ซึ่งก็ต้องดูกันต่อไปว่าเส้นนี้จะทำให้คนไทย Happy หรือ So Sad กันแน่กับแผนระยาวของรัฐบาลนี้ แต่ก่อนหน้าที่จะไปอัพเดทข่าวล่าสุดของทั้ง 4 เส้นทาง เราไปย้อนดูความเป็นมาของโครงการกันก่อนดีกว่าครับ
.

ย้อนข่าวเล่าความ ที่มาที่ไปโครงการรถไฟความเร็วสูง

. 2535 - รัฐบาลของนายชวน หลีกภัย เริ่มมีการศึกษาระบบโดยเริ่มต้นที่สายกรุงเทพ – สนามบินหนองงูเห่า – ระยอง โดยพรรคประชาธิปัตย์ได้เปิดทางให้ต่างประเทศศึกษาแนวเส้นทาง ซึ่งมีสองประเทศที่สนใจเข้ามาลงทุนคือ ประเทศจีน และ ประเทศญี่ปุ่น  โดยจีนสนใจในเส้นทางกรุงเทพ-หนองคาย และญี่ปุ่นสนใจในเส้นทางกทม-เชียงใหม่ ซึ่งจีนในตอนนั้นมีแผนจะพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงให้ประเทศลาวโดยจะสามารถเชื่อมต่อเส้นทางลาวกับไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ด้วย แต่จีนกับลาวเกิดความขัดแย้งกันเสียก่อน  ทำให้โครงการของไทยต้องชะงักลงไปด้วย 2540 - ประเทศไทยฟองสบู่แตกเพราะเจอวิกฤตต้มยำกุ้ง โครงการจึงต้องหยุดชะงักไป 2553 - รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ริเริ่มโครงการอีกครั้งโดยการประชุมร่วมรัฐสภาและได้ลงมติเห็นชอบกรอบการเจรจาความร่วมมือด้านการพัฒนากิจการรถไฟระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีแผนจะมีพัฒนาเส้นทางร่วมกันคือ 1.เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย 2.เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง 3. เส้นทางกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ 4.เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และ 5.เส้นทางกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี 2556 - รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ยกร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ จำนวน 2 ล้านล้านบาท สำหรับใช้พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นหนึ่งในโครงการที่ถูกบรรจุอยู่ในเนื้อหาของพรบ. ซึ่งพ.ร.บ. ได้ผ่านรัฐสภาในเดือนพฤศจิกายน อย่างไรก็ตามพรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ว่าการออกพ.ร.บ.นี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงเกิดการชุมนุมของกลุ่มกปปส.จึงทำให้รัฐบาลประกาศยุบสภาในเดือนเดียวกัน และทำให้โครงการทั้งหมดล่าช้าออกไปอย่างไม่มีกำหนด 2557 ถึง ปัจจุบัน - รัฐบาล คสช ได้นำเอาโครงการนี้มาสานต่อเป็นนโยบายของตน โดยยังคงติดต่อกับสองประเทศเป็นหลักคือ จีนและญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นรับผิดชอบสายเหนือไปถึงจังหวัดเชียงใหม่ และจีนรับผิดชอบสายอีสานไปถึงจังหวัดหนองคาย และรัฐบาลได้ใช้มาตรา 44 กับโครงการนี้ โดยยกเว้นกฎหมายวิศวะ-สถาปนิกให้คนของจีนไม่ต้องมาสอบใบอนุญาตก่อนปฎิบัติงาน และยกเว้นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบทุจริต โดยเฉพาะ พ.ร.บ.ฮั้วประมูล .

เปรียบเทียบนโยบายโครงการรถไฟความเร็วสูงของทั้งสองยุค

Info : voicetv.co.th .

ความคืบหน้า รถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 เส้นทาง (2561)

.

1. กทม - นครราชสีมา (ร่วมมือกับประเทศจีน)

 

โครงการระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา

1.1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.ได้เริ่มก่อสร้างแล้ว 1.2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. ฝ่ายจีนจะส่งแบบรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ในเดือนมีนาคม ฝ่ายไทยจะตรวจแบบ จัดทำราคากลาง และจัดทำ TOR ซึ่งคาดว่าจะเริ่มกระบวนการประกวดราคาในเดือนพฤษภาคม 2561 1.3 ช่วงมวกเหล็ก-ลำตะคอง (อุโมงค์) จีนจะนำส่งร่างแบบรายละเอียดในเดือนมีนาคม ซึ่งคาดว่าจะส่งแบบรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ในเดือนเมษายน 2561 และจัดทำ TOR ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเริ่มกระบวนการประกวดราคาในเดือนมิถุนายน 2561 1.4 ช่วงแก่งคอย-บันไดม้า-โคกกรวด-ลำตะคอง-โคราช ฝ่ายจีนจะส่งร่างแบบรายละเอียดในเดือนเมษายน หลังจากนั้นจะตรวจสอบแบบต่อไป โดยคาดว่าจะส่งแบบรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ได้ในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน 2561 หลังจากนั้นจะเป็นกระบวนการในการจัดทำราคากลางก่อนจะเริ่มการประกวดราคาในเดือนกรกฎาคม 2561 1.5 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง- นวนคร-บ้านโพธิ์-พระแก้ว-สระบุรี-แก่งคอย-เชียงรายน้อย ซึ่งฝ่ายจีนจะส่งร่างแบบรายละอียดในเดือนมิถุนายน 2561 และฝ่ายไทยจะได้ตรวจสอบร่างแบบดังกล่าวซึ่งคาดว่าฝ่ายจีนจะได้ส่งแบบรายละเอียดในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2561 จัดทำราคากลางและเริ่มการประกวดราคาในเดือนกันยายน 2561 .

โครงการระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย

1.6 ฝ่ายไทยจะได้ทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2561 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายน 2561 หลังจากนั้นจะได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อออกแบบรายละเอียดในเดือนมิถุนายน และจะออกแบบรายละเอียดประมาณ 10 เดือน ก่อนดำเนินการประกวดราคาในราวไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 ต่อไป

update : 9 ก.พ. 61 Info : prachachat.net

.

2. กทม - เชียงใหม่ (ร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น)

 

โครงการระยะที่ 1 และ 2 กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ระยะทาง 670 กิโลเมตร

2.1 ไทย ยื่นข้อเสนอให้ญี่ปุ่นลงทุนรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ – เชียงใหม่ แต่ญี่ปุ่นยืนยันให้เพียงเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำเท่านั้น โดยผลการศึกษาของญี่ปุ่น ระบุว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ – เชียงใหม่ มีมูลค่าประมาณ 4.2 แสนล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เสนอให้ลดความเร็วของรถไฟเหลือ 180 – 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเพื่อลดต้นทุน แต่จากการศึกษาพบว่า การลดความเร็วรถไฟไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน  2.2 กระทรวงคมนาคมยืนยันว่า จะยังคงใช้ระบบและเทคโนโลยีของรถไฟความเร็วสูงชินคันเซนที่ความเร็ว 300 กม./ชม. ตามมาตรฐานของญี่ปุ่น หากความเร็วต่ำกว่านี้ ประชาชนส่วนใหญ่จะเลือกใช้การเดินทางรูปแบบอื่น และหากเป็นรถไฟความเร็วสูง ควรมีระยะทางมากกว่า 500 กิโลเมตร ถึงประมาณ 749 กิโลเมตร เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากกว่าการเดินทางด้วยรถยนต์ จากประสบการณ์ของประเทศญี่ปุ่นที่ได้ดำเนินงานรถไฟหัวกระสุนมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 พบว่าชินคันเซ็นจะสูญเสียผู้โดยสารไปให้การเดินทางด้วยเครื่องบิน เมื่อเส้นทางนั้นต้องใช้เวลาเดินทางนานกว่าสามชั่วโมง ซึ่งแม้กระทั่งด้วยความเร็ว 300 กม./ชม. การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ก็อาจต้องใช้เวลานานถึงราวๆ สามชั่วโมงครึ่ง

2.3 เรื่องการลดสถานี ในการหารือครั้งล่าสุด ญี่ปุ่นปฏิเสธการยกเลิกสถานีกลางทางเพื่อลดต้นทุน เพราะจะทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่รอบสถานีที่ถูกยกเลิกนั้นต้องเสียประโยชน์ในหลายด้าน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ยังยากต่อการตัดสิน เพราะยังต้องหารือกับกระทรวงการคลังต่อไป

update : 9 ก.พ. 61 info : workpointnews.com .

3. กทม - ฉะเชิงเทรา - ชลบุรี - ระยอง (อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียด PPP*)

*PPP คือ ภาครัฐจะดำเนินการเวนคืนที่ดิน และภาคเอกชนจะดำเนินการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล จัดหาขบวนรถ เดินรถและซ่อมบำรุง
 

โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน แบบไร้รอยต่อ ระยะทาง 260 กม.

3.1 เป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ส่วนต่อขยาย 2 ช่วง จากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบัง ไปยังสนามบินอู่ตะเภา และจังหวัดระยอง พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบิน โดยใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯ เป็นส่วนใหญ่ รวมระยะทาง 260 กม. 3.2 ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูงจำนวน 10 สถานี ผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จ.สมุทรปราการ จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา สถานีอู่ตะเภา และสถานีระยอง โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นทางยกระดับ โดยมีส่วนที่เป็นอุโมงค์ คือ ช่วงถนน พระรามที่ 6 ถึงถนนระนอง 1 ช่วงเข้าออกสนามบินสุวรรณภูมิ ช่วงผ่านเขาชีจรรย์ และช่วงเข้าออกสถานีอู่ตะเภา 3.3 วัตถุประสงค์ของโครงการ คือการเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพของระบบขนส่งทางรถไฟในกรุงเทพมหานครเชื่อมโยงกับระบบขนส่งอื่นๆ ให้เป็นโครงข่ายการขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในภาพรวม และ ทำให้การเชื่อมโยงโครงข่ายระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ EEC 3.4 แผนการปฎิบัติงาน (Timeline) 1.ประกาศเชิญชวนนักลงทุน - ม.ค. 61 2.ให้เอกชนเตรียมยื่นข้อเสนอ - ก.พ. 61 3.ประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือก - พ.ค. 61 4.ลงนามในสัญญา - ส.ค. 61 5.เปิดให้บริการเต็มรูปแบบ - พ.ศ. 66 3.5 โครงการรถไฟความเร็วสูงดังกล่าว จะมีการพัฒนาเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกจะก่อสร้างจากกรุงเทพฯไปถึงสนามบินอู่ตะเภา ระยะทางประมาณ 196 กิโลเมตร จะแล้วเสร็จในปี 2566 และระยะที่ 2 จะต่อเชื่อมไปถึงอำเภอเมืองระยองอีกประมาณ 60 กิโลเมตร update : 12 ก.พ. 61 Info : eeco.or.th .

4. กทม - หัวหิน (อยู่ในช่วงศึกษาเส้นทาง)

 

โครงการระยะที่ 1 กรุงเทพฯ - หัวหินระยะทาง 209 กม.

4.1 ขณะนี้ทางโครงการได้อยู่ในแผนดำเนินการแก้ไขแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-หัวหิน ช่วงผ่านตัวเมืองเพชรบุรี เป็นแนวเส้นทางใหม่ ซึ่งมีการเปลี่ยนแนวไปจากเดิม เนื่องจากแนวเดิมผ่านเข้าตัวเมืองเพชรบุรี โดยเฉพาะช่วงผ่านบริเวณเขาวังเมืองเพชร ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่มีการจราจรหนาแน่น และบางช่วงมีแนวหักศอก ทำให้ยากต่อการออกแบบเนื่องจากรถไฟมีความเร็วถึง 250 กม./ชม. จากนั้นมุ่งลงใต้สู่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี และ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทาง 209 กม. 4.2 แนวเส้นทางใหม่ มีระยะทาง 18.5 กิโลเมตร พื้นที่เวนคืน 231 ไร่ กระทบสิ่งปลูกสร้าง 52 หลัง ราคาค่าก่อสร้าง 9,330 ล้านบาท โดยมีลักษณะเป็นทางวิ่งยกระดับทั้งหมด 4.3 แนวเส้นทางใหม่จะใช้พื้นที่เขตทางรถไฟเดิมเป็นหลัก ยกเว้นบางช่วงจำเป็นต้องมีการปรับแนว เพื่อให้รถไฟสามารถทำความเร็วได้อย่างปลอดภัย โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการจากสถานีกลางบางซื่อ กรุงเทพฯ ใช้แนวเส้นทางของรถไฟสายใต้ update : 13 ก.พ. 61 Info : portal.rotfaithai.com .
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon