realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

โครงการสะพานสนามบินน้ำ จ.นนทบุรี

03 Jun 2022 5.0K

โครงการสะพานสนามบินน้ำ จ.นนทบุรี

03 Jun 2022 5.0K
 

โครงการสะพานสนามบินน้ำ จ.นนทบุรี

โครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณ ถ.สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี มีระยะทางรวม 7.8 กม. ใช้งบประมาณ 20,000 ลบ. โดยมีกรมทางหลวงชนบทเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ความคืบหน้าปัจจุบันเป็นการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนครั้งที่ 3
ซึ่งโครงการนี้เป็นหนึ่งในแผนแม่บทการพัฒนาและบูรณาการโครงข่าย ถ.สะพานข้ามแม่น้ำและการจราจรในเขต กทม. และปริมณฑล รวมถึงเป็นการสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์ จ.นนทบุรี ในการแก้ไขปัญหาจราจร และรองรับการขยายตัวของชุมชน การพัฒนาเมือง บริการสาธารณูปโภคให้เพียงพอและได้มาตรฐาน และเพิ่มประสิทธิภาพการสัญจรให้มีความสะดวกและปลอดภัย
จุดเริ่มต้นโครงการอยู่ที่สามแยกสนามบินน้ำ แนวเส้นทางไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่บนถ.สนามบินน้ำ โดยรูปแบบโครงการก่อนจะถึงถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี จะเป็นทางยกระดับ ข้ามทางแยกที่ตัดกับทางเลี่ยงเมืองนนทบุรี จากนั้นเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และลดระดับเป็นถนนระดับพื้นดินในพื้นที่ ต.ท่าอิฐ และสิ้นสุดโครงการที่ ถ.ราชพฤกษ์ ที่ กม. 25+200

รูปแบบการพัฒนาโครงการ

  • ปรับปรุง ถ.สนามบินน้ำ จาก 4 เลน (ไป – กลับ) เป็น 6 เลน (ไป – กลับ)
  • ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาขนาด 6 เลน
  • ก่อสร้าง ถ.ระดับดินขนาด 6 เลน (ไป – กลับ) จากสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมต่อกับ ถ.ราชพฤกษ์
  • ก่อสร้างสะพานขึ้น – ลง บน ถ.สนามบินน้ำเชื่อมสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปทิศตะวันตกและทิศตะวันออกของม่น้ำเจ้าพระยา
  • ก่อสร้างสะพานข้ามคลองบางบัวทองพร้อมจุดกลับรถขนาด 4 เลน (ไป – กลับ)
  • ก่อสร้างทางแยกต่างระดับ บริเวณจุดสิ้นสุดโครงการเพื่อเชื่อม ถ.ราชพฤกษ์
รูปแบบสะพานสนามบินน้ำเป็นรูปแบบคานขึงหรือสะพาน Extradosed ที่มีรูปแบบคล้ายสะพานขึง โดยลักษณะของสะพานคานขึงจะมีเสาสูงที่เตี้ยกว่าสะพานขึงและสายเคเบิลมีความชันน้อยกว่า ซึ่งเป็นสะพานรูปแบบเดียวกับสะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์ จ.นนทบุรี ที่สร้างเสร็จในปี 2557

ความเห็นแตกต่าง

แต่จากการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ต่อโครงการสะพานสนามบินน้ำ ได้รับความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน
สำหรับผู้ที่สนับสนุนโครงการ เห็นว่า
  • เป็นการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้กับประชาชน
  • เป็นการแก้ปัญหาการจราจรติดขัดและรองรับปริมาณจราจรที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต จากการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ กทม. นนทบุรี และปทุมธานี
  • เป็นเส้นทางเลี่ยงรถติดบน ถ.รัตนาธิเบศร์ และ ถ.ชัยพฤกษ์ ซึ่งมีปัญหาการจราจรติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน
  • รองรับการขยายตัวของชุมชนและการพัฒนาเมืองระยะต่อไปอย่างเป็นระบบในอนาคต
. ความเห็นคัดค้านโครงการ ได้แก่
  • การถูกเวนคืนพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง 200 หลังคาเรือนและที่ดินเปล่า 230 แปลง
  • ทำลายความเป็นชุมชนเมืองเก่า เช่น วัดตำหนักใต้ วัดชมภูเวก ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
  • ไม่เห็นว่าการสร้างสะพานเป็นการแก้ปัญหารถติด เพราะปัจจุบันมีถนนและสะพานเชื่อมฝั่งตะวันออก ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาฝั่งตะวันตกหลายแห่งแล้ว อีกทั้งมีแนวเส้นทาง รฟฟ. ในบริเวณถึง 3 สาย ได้แก่ สายสีม่วง, สายสีชมพู เปิดปี 2566 และสายสีน้ำตาลที่อยู่ระหว่างศึกษาโครงการ ที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายรฟฟ.สายอื่นๆ แต่บริเวณโดยรอบก็ยังคงมีปัญหาการจราจรติดขัด
  • ปัญหาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นทั้งจากการก่อสร้างและการจราจรในอนาคต
INFO : โครงการสะพานสนามบินน้ำ, ฐานเศรษฐกิจ
Content Creator
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon