realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

สะพานเชื่อมเกาะลันตา

12 April 2021 2.5K

สะพานเชื่อมเกาะลันตา

12 April 2021 2.5K
 

สะพานเชื่อมเกาะลันตา

เกาะลันตาอยู่ในทะเลอันดามันในเขตจังหวัดกระบี่ ระหว่างทะเลกระบี่กับทะเลตรัง ด้วยความสวยงามและความเงียบสงบของเกาะลันตาและประภาคารสัญลักษณ์จึงทำให้เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยว ทำให้เกาะลันตามีจำนวนประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก มีปัญหาการเดินทางและขนส่งจึงก่อให้เกิดปัญหาความล่าช้าการเดินทาง สะพานเชื่อมเกาะลันตาจึงเป็นโครงการที่ริเริ่มเพื่อแก้ไขปัญหาการจารจรและยังช่วยพัฒนาพื้นที่เพื่อกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มศักยภาพด้านพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวของ จ. กระบี่
 

ความเป็นมาของโครงการ

เกาะลันตาเป็นเกาะที่มีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยว ปัจจุบันพบว่ามีประชาชนและนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก เกิดปัญหาการเดินทางและขนส่งจึงก่อให้เกิดปัญหาความล่าช้าในการเดินทาง โดยปกติจะใช้แพขนานยนต์ แต่แพนั้นสามารถบรรทุกรถได้น้อย มีจำนวนจำกัด และให้บริการในช่วงเวลา 06.00-22.00 น.เท่านั้น ซึ่งบางครั้งใช้ระยะเวลาในการเดินทางจากแผ่นดินใหญ่ไปที่เกาะลันตาน้อยนานถึง 12 ชั่วโมงในช่วง High season (เดือนพ.ย. ถึง เดือน เม.ย.) ดังนั้นโครงการนี้จึงช่วยบรรเทาปัญหาการจารจรและพัฒนาพื้นที่กระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มศักยภาพด้านพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวอีกด้วย
กรมทางหลวงชนบท ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา บริษัท เอพชิลอน จำกัด บริษัท สแปน จำกัด และบริษัท พรี ดีเวลลอปเมนท์ คอนชัลแตนท์ จำกัดเพื่อให้บริการงานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์การลงทุน และการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม (EA) เส้นทางเชื่อมเกาะลันตา ต. เกาะกลาง - ต. เกาะลันตาน้อย อ.เกาะลันตา จ.กระบี่

จุดมุ่งหมายของโครงการ

  • บรรเทาปัญหาจราจรที่ล่าช้าบริเวณทางเชื่อมเกาะระหว่างตำบลเกาะกลางและตำบลเกาะลันตาน้อย จังหวัดกระบี่
  • เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่และกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่นและภูมิภาค สนับสนุน และอำนวยความสะดวกทางด้านพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว
  • พัฒนาและยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบทเพื่อเชื่อมโยงการคมนาคม และการขนส่ง แก้ไข ปัญหาจราจรด้วยการสร้างทางเชื่อม (Missing ink) ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  • เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน
 

การดำเนินโครงการ

ทช. ได้จัดประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชนไปแล้ว แบ่งเป็น
  • 25 สิงหาคม 2563 การประชุมปฐมนิเทศโครงการ (การประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1)
  • 5 กันยายน 2563 งานตรวจราชการพื้นที่จังหวัดกระบี่ นายอนุทิน ขาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตรวจเยี่ยมโครงการศึกษาความเหมาะสมผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  • 19-20 ก.ย. 63 การประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 1 (2 กลุ่ม)
  • 21-22 ต.ค. 63 การประชุมสรุปแนวทางเลือกที่เหมาะสม (2 กลุ่ม) เพื่อนำเสนอแนวเส้นทาง รูปแบบโครงการ พร้อมผลการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการป้องกันแก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อไป
  • 27-28 ม.ค. 64 การประชุมหารือมาตรการและปัจฉิมนิเทศ สรุปโครงการทั้งหมด โดย ทช. จะส่งรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA ไปยังสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 7 เดือน และรออนุมัติจากคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คาดว่าใช้เวลาประมาณ 2 เดือน หลังจากนั้นรออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นขั้นตอนสุดท้าย เพื่อขอความเห็นชอบและเสนองบประมาณในปี 65 โดยคาดว่างบประมาณในการก่อสร้าง 1,600 ลบ.
  • 12 พ.ย. 64 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคมและนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมผู้บริหารในสังกัดกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ตรวจราชการโครงการสะพานเชื่อมเกาะลันตา ซึ่งโครงการออกแบบและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเสร็จแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) คาดว่าจะได้รับความเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ภายในต้นปี 2565 และมีแผนก่อสร้างในปี 2566 - 2568 คาดว่าจะสามารถเปิดให้ประชาชนใช้ได้ในปี 2569

งบประมาณเบื้องต้นของโครงการ

รูปแบบสะพาน

รูปแบบสะพานเป็นแบบสะพานคานขึง (Extradosed Bridge) ความยาวสะพานรวมเชิงลาดประมาณ 2,240 เมตร ขึง ขนาด 2 ช่องจราจร มีโครงสร้างอยู่ในทะเลและถนนต่อเชื่อมทางบกทั้ง 2 ฝั่ง เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ทนทานต่อการเกิดสนิมจากไอน้ำทะเลโครงสร้างสะพานและเสาตอม่อส่วนบนหล่อเป็นขึ้นเดียวกัน จึงมีความมั่นคงแข็งแรง ช่วงที่เป็นร่องน้ำเดินเรือมีการใช้สายเคเบิลรองรับโครงสร้าง ทำให้จำนวนเสาตอม่อน้อย
รูปแบบสะพานนี้มีความยาวช่วงสะพานมากกว่าสะพานทั่วไป ทําให้สะดวกต่อการเดินเรือและก่อสร้าง โครงสร้างทนทานต่อการเกิดสนิมและกระแสลม สามารถซ่อมบำรุงได้ง่าย มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรม มีราคาค่าก่อสร้างและค่าบำรุงรักษาที่ต่ำกว่ารูปแบบอื่น รวมถึงมีผลกระทบต่อการฟุ้งกระจายของตะกอนดินและระบบนิเวศวิทยาทางน้ำน้อยที่สุด
โดยในส่วนของโครงสร้างที่อยู่ในทะเลนั้น จะมีมาตรการป้องกัน การสั่นไหวเนื่องจากปัจจัยต่างๆ ป้องกันการกัดเซาะ ป้องกันการเกิดสนิม ซึ่งสายเคเบิลสะพานที่เป็นเหล็ก ได้ถูกออกแบบให้สามารถป้องกันการเกิดสนิม โดยลักษณะการป้องกันสนิมที่สายเคเบิ้ล ประกอบด้วย การป้องกันด้วยท่อพลาสติกหุ้มอยู่ภายนอก ป้องกันไอน้ำทะเล และแสง UV, ภายในท่อพลาสติกดังกล่าว มีการอัดน้ำปูน-ทราย หุ้มสายเคเบิ้ลไว้อีกชั้นหนึ่ง ทําให้ไม่มีช่องว่างให้อากาศชื้นที่มีความเค็มของไอทะเลเข้าไปอยู่ภายในท่อพลาสติกได้, การป้องกันสนิมที่ตัวสายเคเบิ้ล โดยมีสารเคลือบป้องกันสนิมโดยตรงตามมาตรฐานสากล ตลอดจนมีระบบตรวจสอบสภาพการเกิดสนิมและใช้ระบบไฟฟ้าสถิตเหนี่ยวการเกิดสนิม ไม่ให้เกิดที่สายเคเบิ้ล แต่ให้มาเกิดที่บ่อดักสนิมด้วยกระแสไฟฟ้าสถิตแทน การป้องกันสนิมด้วยวิธีนี้เรียกว่า ระบบแคโทดิก เป็นการใช้ไฟฟ้ากระแสตรงจากแหล่งกําเนิดภายนอกเพื่อยับยั้งการเกิดสนิมของโลหะ
 
 

แนวเส้นทางโครงการ

แนวเส้นทางโครงการครอบคลุมพื้นที่ 1 จังหวัด 1 อำเภอ 2 ตำบล ได้แก่ หมู่ที่ 8 บ้านหัวหิน ตำบลเกาะกลางและหมู่ที่ 2 บ้านทุ่งโต๊ะหยุม ตำบลเกาะลันตาน้อย อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ จุดเริ่มต้นโครงการจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4206 ยาวไปถึงจุดสิ้นสุดทางหลวงชนบทสาย กบ.5035 โดยผ่าน
พื้นที่อนุรักษ์เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทุ่งทะเล 605 ไร่
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทุ่งทะเล 690 เมตร
พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเกาะกลาง 272 ไร่ ป่าเลนคลองร่าปู แปลงที่หนึ่ง แปลงที่สอง 67 ไร่ ป่าหลังสอด ป่าควนบากันเกาะ 438 ไร่ รวมทั้งหมด 777 ไร่
ป่าสงวนแห่งชาติป่าเกาะกลาง 398 เมตร ป่าหลังสอด ป่าควนบากันเกาะ 508 เมตร รวมระยะทางทั้งหมด 906 เมตร
พื้นที่ป่าชายเลนในรัศมี 500 เมตร จากแนวเส้นทางอยู่ในพื้นที่ป่าชายเลน 425 ไร่ ป่าชายเลน 128 เมตร

ประติมากรรม - จุดชมวิว

สะพานจะมีจุดชมวิวจำนวน 4 จุด โดยสามารถนำจักรยานขึ้นมายังจุดชมวิวและเที่ยวชมบริเวณประติมากรรมแต่ละแห่งประกอบด้วย
จุดที่ 1 ประติมากรรมท่องทะเลลันตา เล่าถึงวิถีชีวิตและมรดกทางวัฒนธรรมของชาวลันตาที่อยู่กับทะเลอันดามัน
จุดที่ 2 ประติมากรรมรักลันตา ทำให้คนลันตามีความรักในความเป็นชาวลันตา และเห็นคุณค่าแห่งความงดงามตามธรรมชาติของลันตา
จุดที่ 3 ประติมากรรมเพิ่มพูนพฤกษาป่าชายเลน เพื่อเชิญชวนนักท่องเที่ยวร่วมกันปลูกป่าหลังกลับจากเกาะลันตา
จุดที่ 4 ประติมากรรมรักษ์ป่าชายเลน เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของป่าชายเลนที่มีประโยชน์ต่อทรัพยากรธรรมชาติ  
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon