realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (245)
 (322)
 (424)
 (32)
 (13)
 (4)
 (19)
 (221)
 (55)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (56)
 (9)
 (34)
 (28)
 (9)
 (9)
 (189)
 (89)
 (114)
 (109)
 (42)
 (17)
 (49)
 (24)
 (41)
 (19)
 (20)
 (13)
 (39)
 (14)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (245)
 (322)
 (424)
 (32)
 (13)
 (4)
 (19)
 (221)
 (55)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (56)
 (9)
 (34)
 (28)
 (9)
 (9)
 (189)
 (89)
 (114)
 (109)
 (42)
 (17)
 (49)
 (24)
 (41)
 (19)
 (20)
 (13)
 (39)
 (14)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

"ฉลองครบรอบ 100 ปี สวนลุมฯ" เตรียมปรับโฉมใหม่ เสร็จ 2568

14 Feb 2022 1.3K

"ฉลองครบรอบ 100 ปี สวนลุมฯ" เตรียมปรับโฉมใหม่ เสร็จ 2568

14 Feb 2022 1.3K
 

"ฉลองครบรอบ 100 ปี สวนลุมพินี" เตรียมปรับโฉมใหม่ เสร็จ 2568

"โครงการปรับปรุงสวนลุมพินี ในวาระครบรอบ 100 ปี" เกิดขึ้นเนื่องในโอกาสที่ปี 2568 นี้ สวนลุมฯ จะมีอายุครบ 100 ปี โดยมีจุดประสงค์ที่จะฟื้นฟูสวนลุมฯ ให้กลับมามีชีวิตชีวา ตอบสนองวิถีชีวิตในยุคใหม่ และเพิ่มความหลากหลายให้มากขึ้น ทั้งความหลากหลายด้านกิจกรรม วัฒนธรรม และผู้คน สร้างภาพลักษณ์ที่ร่วมสมัยทั้งยังตั้งเป้าว่าจะเป็นสวนสาธารณะระดับโลก !
ย้อนความเป็นมาของสวนลุมพินี - เป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย เปิดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2468 โดยเกิดขึ้นจากรัชกาลที่ 6 ทรงพระราชดำริให้จัดงาน "สยามรัฐพิพิธภัณฑ์" บนที่ดินทุ่งศาลาแดง ที่ดินส่วนพระองค์ เป็นการเฉลิมฉลองวโรกาสที่พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 15 ปี เพื่อจัดแสดงสินค้าไทย งานหัตถกรรม กีฬาต่าง ๆ เปรียบเสมือนเป็นงาน Expo ของไทยเลยก็ว่าได้ ซึ่งสุดท้ายแล้วงานดังกล่าวก็ไม่ได้จัดขึ้นเนื่องจากการสวรรคตของพระองค์ จึงได้เปลี่ยนให้เป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชนแทนในสมัยรัชกาลที่ 7
ในปัจจุบัน การเข้าใช้งานในสวนลุมพินีจะตกอยู่ที่ 10,000 คน/วัน และมากถึง 15,000 คน/วัน ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ กิจกรรมส่วนใหญ่ก็จะเป็นการวิ่ง ออกกำลังกาย  รำไทเก๊ก เดินเล่นผ่อนคลาย

โครงการแบ่งเป็น 3 ระยะ

แบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 - ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคในสวน
ระยะที่ 2 - พัฒนาและสร้างพื้นที่เรียนรู้ต่าง ๆ
ระยะที่ 3 - พัฒนาพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้งาน
โดยจากหนังสือที่กทม. แจ้งงบในการดำเนินโครงการปรับปรุงสวนลุมฯ นี้ ระบุว่า มีวงเงินค่าใช้จ่าย 1,700 ลบ. (จากเดิมประเมินไว้ 1,000 ลบ.)
ในการปรับปรุงระยะที่1 นั้น แต่เดิมมีการวางแผนไว้แล้ว แต่เนื่องจากมีโครงการพัฒนาสวนลุมฯ ครบรอบ 100 ปี จึงได้ชะลอระยะที่ 1 ให้เริ่มพร้อมกับโครงการเลย ซึ่งขณะนี้ได้รับงบประมาณ 159 ลบ. เพื่อเริ่มปรับปรุงระยะที่ 1 แล้ว โดยมีการปรับปรุงพื้นที่ดังนี้
  • ถนนแกนกลางสวนลุมที่เชื่อมระหว่างประตูด้านถนนพระราม 4
  • บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6
  • ประตูทางเข้าสวนด้านถนนวิทยุ โดยปรับปรุงให้มีลักษณะเป็นทางเดิน, วิ่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • ปรับปรุงโครงการพื้นฐาน และสาธารณูปโภคภายในสวนฯ
ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ยังไม่มีความคืบหน้าเพิ่มเติม
ส่วนอื่น ๆ อยู่ในระหว่างการออกแบบและรับฟังความเห็นจากประชาชน คาดว่าออกแบบเสร็จและเริ่มก่อสร้างปลายปี 2566 สร้างเสร็จ 2567

การประมูลและงบประมาณโครงการ

โครงการสวนลุมฯ ใหม่ กทม.ได้ใช้วิธีเปิดประมูลคัดเลือกเอกชน สำหรับผู้ที่ชนะการประกวดแบบโครงการนี้คือ LANDPROCESS ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในทีมที่ปรึกษาออกแบบโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองช่องนนทรีด้วย โดยชนะไปในราคา 49 ลบ. จากราคากลาง 50 ลบ.
งบประมาณของโครงการนี้ คาดว่าจะสูงถึง 1,700 ลบ. ซึ่งมากกว่าโครงการปรับปรุงสวนเบญจกิติเกือบเท่าตัว (สวนเบญจกิติ ใช้งบประมาณ 950 ลบ.) และเป็นสวนสาธารณะแห่งแรกในกทม. ที่ใช้งบปรับปรุงเกิน 1,000 ลบ.

ปัญหาเดิมของสวนลุมพินี

ปัญหาของสวนลุมพินีในปัจจุบัน มีหลัก ๆ ด้วยกัน 6 ข้อดังนี้
1. การแบ่งพื้นที่ทำกิจกรรมไม่ทั่วถึง
มีพื้นที่ทำกิจกรรมที่กระจุกตัว ไม่ทั่วถึง
2. ความขัดแย้งของทางวิ่งและทางจักรยาน
ทางเดิน ทางวิ่ง ทางจักรยาน ไม่มีการแบ่งเส้นทางอย่างชัดเจน
3. สิ่งอำนวยความสะดวกไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
ห้องน้ำ โรงอาหาร จำนวนไม่เพียงพอ
4. ที่จอดรถไม่เพียงพอ
ปัจจุบันมี 300 คัน
5. ปัญหาการจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อม
การระบายน้ำและหมุนเวียนน้ำในสวน
6. ปัญหาการบริหารจัดการสวน
การจัดการเรื่องการใช้พื้นที่ มีร้านค้าชั่วคราวมาจับจองที่ว่าง การทรุดโทรมของสถานที่

5 แนวคิด พัฒนาสวนลุมฯ

นอกจากออกแบบเพื่อแก้ปัญหาข้างต้นแล้ว ทาง Landprocess ยังต้องการให้สวนลุมฯ เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลาย เหมาะกับประชาชนทุกเพศทุกวัย และยังคงความเป็นประวัติศาสตร์เดิมเอาไว้ได้ จึงสะท้อนออกมาเป็นแนวคิดใหม่ 5 ข้อ ดังนี้
1. ประวัติศาสตร์ (History)
ยึดแกนเดิมเป็นหลัก เพิ่มเรื่องราว เช่น เพิ่มชื่อ ถ.สวนลุม 100 ปี
2. พื้นที่ผสานความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Cultural integration)
ต้องการให้สวนลุมเป็นพื้นที่แหล่งเรียนรู้ศิลปะวัฒนธรรม ในโซนตึกที่ไม่ได้ใช่งาน เช่น ห้องสมุด และเรียนรู้เรื่อง ธรรมชาติ นก ต้นไม้ นิเวศวิทยาเมือง
3. ตอบสนองความต้องการนันทนาการยุคใหม่ (Modern Recreation)
ปัจจุบันการออกกำลังมีหลายรูปแบบ  เดิมเป็นไทเก๊ก วิ่ง โดยมีแนวคิดที่อยากเพิ่มรูปแบบการออกกำลังกายที่หลากหลายมากขึ้น เช่น Paddle Board คายัก เซิร์ฟสเก็ต แก้ปัญหาเรื่องทางเดินและทางจักรยาน ที่ต้องสลับกันใช้โดยทำเส้นทางใหม่ขึ้นให้แยกกันเป็นสัดส่วน
4. ออกแบบสำหรับผู้ใช้ทุกคน (Inclusive Design)
มีแนวคิดออกแบบเพื่อทุกคน ตั้งแต่คนแก่ คนพิการ รวมถึงคนไร้บ้านด้วย ซึ่งจะรองรับคนกลุ่มนี้ถึง 300 - 400 คน ทำห้องน้ำที่ตอบโจทย์คนทุกเพศได้
5. การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ (Climate Action Park)
ต้องการสร้างภาวะที่ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเองได้ (Regenerative City) มีพืชพันธ์ุหลากหลายชนิด มีแนวคิด Urban Farming ให้คนมาเช่าที่ปลูกขายเองได้
[wc_html name="section"]ความคืบหน้า/wc_html]

ความคืบหน้าของแบบในปัจจุบัน

ภายใต้โครงการปรับปรุงสวนลุมพินีฯ กทม. ได้เสนอขอรับการอุดหนุนงบจากรัฐบาลอีก 2 โครงการ ประกอบด้วย
1. โครงการก่อสร้างอาคารจอดรถสวนลุมพินีบนดิน 2 ชั้น ใต้ดิน 4 ชั้น ซึ่งจอดรถได้ 800 คัน วงเงิน 1,600 ล้านบาท โดยที่จอดรถนี้จะอยู่นอกเขตสวนลุมฯ เพื่อให้ใช้พื้นที่ภายในสวนลุมได้มากขึ้น
2. โครงการปรับปรุงเร่งด่วนในการเชื่อมสวนเบญจกิติและสวนลุมพินี วงเงิน 500 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้จะมีการสร้างหอชมเมืองสูง 5 ชั้น ทางลาดรูปหอยโข่ง และทางเชื่อมไปยังสวนเบญจกิติ

ปรับปรุงทางจักรยาน - ทางวิ่ง เชื่อมไปยังสะพานเขียว - สวนเบญจกิติ

นำเสาไฟฟ้าลงดิน เพิ่มพื้นที่เก็บน้ำให้สวน

เพิ่มพื้นที่จอดรถ

เพิ่มพื้นที่จอดรถใติดิน 500 คันฝั่งรพ.จุฬา เพื่อให้รองรับจำนวนผู้ใช้งานได้มากขึ้น

ภาพจำลองบรรยากาศสวนลุมฯ โฉมใหม่

 

บทความเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะในเมืองอื่น ๆ ที่ทาง Realist เคยทำไว้

สามารถอ่านได้ทางด้านล่างนี้เลยครับ

อุทยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รวมกลุ่มภาคีสถาปนิกพัฒนา "สะพานเขียว" เชื่อมสวนลุมพินี - สวนเบญจกิติ
"สวนป่าเบญจกิติ" สวนป่าใจกลางเมืองกว่า 450 ไร่
คลองช่องนนทรี กำลังจะเปลี่ยนไป!!!
โครงการปรับภูมิทัศน์ คลองผดุงกรุงเกษม
Content Creator
Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (245)
 (322)
 (424)
 (32)
 (13)
 (4)
 (19)
 (221)
 (55)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (56)
 (9)
 (34)
 (28)
 (9)
 (9)
 (189)
 (89)
 (114)
 (109)
 (42)
 (17)
 (49)
 (24)
 (41)
 (19)
 (20)
 (13)
 (39)
 (14)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon