realist-blog-logo
facebook-logo youtube-logo instagram-logo line-logo tiktok-logo
thelist-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon
realist-blog-logo
 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon

โซลาร์ภาคประชาชน ใช้ไฟฟรี เหลือขายรัฐ รายได้เพิ่ม

03 Jul 2019 5.3K

โซลาร์ภาคประชาชน ใช้ไฟฟรี เหลือขายรัฐ รายได้เพิ่ม

03 Jul 2019 5.3K
 
  • ในปัจจุบัน โลกของเรามีประชากรเพิ่มมากขึ้น สภาพอากาศก็ร้อนจนต้องหันมาพึ่งเครื่องปรับอากาศ แถมเทคโนโลยีส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในยุคนี้ ล้วนแต่ต้องการพลังงานไฟฟ้าอีก ทำให้ความต้องการไฟฟ้าโดยรวมของโลกเรามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน 
  • ในอนาคตทางภาครัฐ ได้คาดการณ์ความต้องการพลังงาน และวางแผนการผลิตไฟฟ้า โดยให้ความสำคัญกับโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนมากที่สุด และหนึ่งในนั้น เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าผ่านโครงการ "โซลาร์ภาคประชาชน" บ้านอยู่อาศัยที่ติดระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคา สามารถเข้าร่วมโครงการและทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับรัฐเป็นเวลา 10 ปี
  • ซึ่งนอกจากบุคคลทั่วไปแล้ว ยังมีผู้พัฒนาโครงการรายใหญ่อย่างเสนา ที่ได้เล็งเห็นที่ความสำคัญของพลังงานสะอาดอย่างโซลาร์เซลล์เช่นเดียวกัน และได้ติดให้กับบ้านในโครงการไปแล้วกว่า 400 หลัง 1,000 กิโลวัตต์ และพร้อมยื่นขอสิทธิ์เข้าร่วมโครงการนี้ด้วย ส่วนรายละเอียดโครงการ และความคุ้มค่าที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวจะเป็นอย่างไรนั้น ไปอ่านต่อได้เลยค่ะ
 

แนวโน้มการผลิตไฟฟ้าใน 20 ปีข้างหน้า

  • จากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าในอนาคต หรือ PDP2018 พบว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะผลิตพลังงานไฟฟ้า จากโรงงานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน มากที่สุดถึง 20,766 เมกะวัตต์ จากทั้งหมด 56,431 เมกะวัตต์ คิดเป็น 37% จากกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ทั้งหมด โดยพลังงานหมุนเวียนจะมาจาก 7 แหล่งผลิตด้วยกัน ได้แก่ พลังงานชีวมวล พลังงานก๊าซชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ พลังงานลม และพลังงานขยะอุตสาหกรรม 
  • โดยพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานหมุนเวียนที่ทางภาครัฐผลักดันให้มีการผลิตมากที่สุด เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาดที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ล่าสุดในช่วงต้นปีได้เปิดตัวโครงการ "โซลาร์ภาคประชาชน" เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถขายไฟฟ้าส่วนเกินที่ผลิตจาก Solar Rooftop ให้กับรัฐ
 

SENA ผู้นำด้านหมู่บ้านพลังงานแสงอาทิตย์เต็มรูปแบบรายแรกของไทย

พร้อมยื่นขอสิทธิ์ร่วมโครงการ "โซลาร์ภาคประชาชน"

  ทางเสนา ได้เริ่มนำเทคโนโลยี และนวัตกรรม Solar Rooftop ให้กับบ้านทุกหลังในโครงการ ตั้งแต่ปี 59 เป็นต้นมา และล่าสุดได้นำโครงการแนวราบที่อยู่ในระหว่างการขาย เข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน เพื่อให้ลูกบ้านได้รับสิทธิประโยชน์ ทั้งประหยัดไฟ จากการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตเอง และได้รับรายได้ จากการขายส่วนที่เหลือใช้ให้กับรัฐ โดยทางเสนาได้ติดตั้งทั้งในส่วนของตัวบ้าน และส่วนกลาง มีรายละเอียด ดังนี้
  • 1. ติดตั้งมาพร้อมกับตัวบ้าน (ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม)

  • เบื้องต้น ทางเสนาจะติดตั้งแผงโซลาร์ให้กับบ้านทุกหลัง มีขนาดเริ่มต้นที่ 2 kWp ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าไฟในเวลากลางวัน โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำงานตลอดเวลา เช่น ตู้เย็น ระบบเตือนภัย รวมถึงกล้องวงจรปิด สามารถประหยัดค่าไฟได้ถึง 1 ใน 3 เมื่อเปรียบเทียบกับบ้านที่ไม่ได้ติดตั้งระบบ นอกจากนี้ ไฟฟ้าส่วนที่เหลือใช้หรือไม่ได้ใช้เนื่องจากไม่ได้อยู่บ้านในเวลากลางวัน ยังสามารถขายให้กับการไฟฟ้า เพื่อให้พลังงานที่ผลิตมาไม่สูญเปล่า และยังได้เงินคืนกลับมาอีกด้วย
  • 2. ติดตั้งในบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง (บางโครงการ)

  • ช่วยทำให้พื้นที่ส่วนกลางของโครงการสามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เอง ซึ่งส่งผลต่อค่าไฟส่วนกลางที่ลดลงประมาณ 30 - 40% ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละโครงการ รวมถึงในอนาคต จะช่วยทำให้ค่าส่วนกลางมีแนวโน้มปรับราคาขึ้นน้อยกว่าปกติ
 

ช่วยลดโลกร้อน ลดคาร์บอนในอากาศ ด้วย Solar House

นอกจากจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าไฟในแต่ละเดือนแล้ว การติดตั้ง Solar Rooftop ยังสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ด้วย โดยปกติการผลิตไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง จะปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 0.6 กก. แต่ถ้าหากเราใช้พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าแทน เบื้องต้นอาจจะติดตั้งกำลังผลิตแค่ 2 kWp ก็สามารถช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างต่ำ 2 ตัน / ปี หรือเท่ากับปลูกต้นไม้ใหญ่ 16 ต้น ในระยะเวลา 10 ปีเลยทีเดียว ซึ่งถ้าเรายิ่งเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ เพื่อใช้ในตัวบ้าน หรือขายให้กับการไฟฟ้า ก็จะยิ่งทำให้เราสามารถช่วยโลกได้มากยิ่งขึ้น
 

Solar House ผลิตไฟใช้เอง เหลือขายรัฐ รายได้เพิ่ม

  • Solar House เป็นบ้านที่ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์ไว้บริเวณบ้าน ซึ่งแต่ละหลังจะสามารถติดตั้งแผงได้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่หลังคา เมื่อแผงโซลาร์เซลล์ได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ แล้วจะเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งจะผ่านเครื่อง Inverter ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ก่อนกระจายไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน
  • โดยเฉลี่ยแล้วในช่วงเวลากลางวัน จะสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 5 ชม. เวลา 10.00 - 15.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่ผลิตไฟได้ดีที่สุด แต่ถ้าหากช่วงไหนมีเมฆมาก ฝนตก หรือความเข้มของแสงอาทิตย์ไม่พอ ระบบจะสลับมาใช้ไฟฟ้าแบบปกติโดยอัตโนมัติ
  • ในกรณีที่เข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน เมื่อแผงโซลาร์เซลล์สามารถผลิตพลังงานได้มากกว่าที่ใช้ในขณะนั้น ส่วนที่เหลือจะถูกส่งออกผ่านมิเตอร์ไปขายให้กับการไฟฟ้า โดยทางภาครัฐจะรับซื้อในราคา 1.68 บ. / หน่วย 
 

ใครๆ ก็เข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชนได้

  • ผู้ที่จะสมัครได้นั้น ต้องเป็นเจ้าของมิเตอร์ไฟฟ้าประเภทที่ 1 (บ้านอยู่อาศัย) ซึ่งถ้าหากเป็นคนทั่วไป จะต้องกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของ กฟน. และ กฟภ. และจะมีการจำกัดกำลังผลิตไม่ให้เกิน 15% ของขนาดหม้อแปลง ดังนั้นหากใครสนใจ ต้องรีบสมัครก่อนที่จะเต็มเกณฑ์ และโดยปกติแล้ว บ้านทั่วไปจะใช้ระบบไฟฟ้า 1 เฟส ทำให้สามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้สูงสุดเพียง 5 kWp เท่านั้น
  • แต่ถ้าหากเป็นลูกบ้านของเสนา จะสามารถติดตั้งได้สูงสุด 8 kWp ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่หลังคาของบ้านแต่ละหลัง และแต่ละโครงการด้วย ส่วนในเรื่องของการดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์ หรือเรื่องเกี่ยวกับการสมัครโครงการโซลาร์ประชาชนนั้น ทางลูกบ้านจะไม่ต้องวุ่นวายอะไรเลย เพราะทางเสนาได้ติดตั้งระบบ พร้อมยื่นเรื่องขอเข้าโครงการฯ ให้เรียบร้อยแล้ว
 

Solar Scale Up - เพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้า ให้ตรงความต้องการใช้ไฟ

  • นอกจากนี้ หากลูกบ้านหลังใด ต้องการใช้ไฟในช่วงเวลากลางวันมากเกินกว่ากำลังผลิตไฟฟ้าของแผงโซลาร์ที่มาพร้อมกับตัวบ้าน (2 kWp) ยังสามารถเพิ่มจำนวนแผงโซลาร์เซลล์เพื่อทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าไว้ใช้ได้เพิ่มมากขึ้น ตามพฤติกรรมการใช้ไฟในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปลองคำนวณความต้องการใช้ไฟและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ ที่นี่ 
  • ทั้งนี้สามารถเพิ่มกำลังผลิตได้สูงสุด 8 kWp แต่ต้องขึ้นอยู่กับพื้นที่หลังคาของบ้านแต่ละหลัง แต่ละโครงการด้วย โดยการตัดสินใจ Solar Scale Up ตั้งแต่ซื้อบ้าน จะมีข้อดี คือ เราสามารถทำเรื่องกู้พร้อมกับราคาบ้านได้เลย ทำให้ได้ดอกเบี้ยในอัตราที่ถูกกว่าดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคล 
 

พฤติกรรมผู้ใช้งานที่ต่างกัน

ทางเสนาได้แบ่งกลุ่มผู้ใช้งาน ตามพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าในเวลากลางวันที่แผงโซลาร์เซลล์สามารถผลิตไฟได้ (เฉลี่ย 5 ชม. / วัน) เพื่อคำนวณหาความคุ้มค่าในการใช้งาน โดยแบ่งผู้อยู่อาศัยเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มที่ในบ้านประกอบด้วยคน 3GENS ได้แก่ ผู้สูงอายุ พ่อ แม่ และเด็ก
  • พฤติกรรมในการใช้ไฟเวลากลางวันของคนกลุ่มนี้ ในวันธรรมดาจะเกิดจากการใช้ไฟของผู้สูงอายุเป็นหลัก ส่วนใหญ่จะดูทีวี อ่านหนังสือ นอนพักผ่อน ซึ่งจะเป็นปริมาณไฟที่ไม่มากนัก
  • ส่วนในวันหยุด จะอยู่พร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว ทำให้ปริมาณใช้ไฟสูงกว่าวันธรรมดา
2. กลุ่มคนที่ประกอบอาชีพอิสระ (Freelance)
  • พฤติกรรมในการใช้ไฟเวลากลางวันของคนกลุ่มนี้ ในกรณีที่ส่วนใหญ่วันธรรมดาทำงานอยู่บ้าน จะทำให้มีปริมาณใช้ไฟที่สูง เช่น ทำงานบนคอมพิวเตอร์ ชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
  • ส่วนในวันหยุด จะออกไปเที่ยว เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ เช่น ทานข้าวกลางวัน เดินห้างเพื่อซื้อของ ทำให้ใช้ไฟน้อยกว่าที่ผลิตได้
3. กลุ่มคนที่ทำงานนอกบ้าน
  • พฤติกรรมในการใช้ไฟเวลากลางวันของคนกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้อยู่บ้านในช่วงเวลากลางวันของวันธรรมดา หรืออาจจะใช้ไฟในช่วงเช้าก่อนออกไปทำงานเป็นเวลาสั้นๆ
  • ส่วนในวันหยุด มักจะพักผ่อน นอนเล่นอยู่ที่บ้านกับครอบครัว ทำให้มีการใช้ไฟมากกว่าวันปกติ
 

ผลตอบแทน เมื่อเข้าร่วมโครงการโซลาร์ประชาชน

  • ในแง่ของการใช้งานจริง เมื่อคำนวณจากขนาดกำลังผลิตเริ่มต้น 2 kWp ในระยะเวลา 10 ปี ที่ได้ทำสัญญากับทางการไฟฟ้า พบว่าจำนวนพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาอยู่ที่ประมาณ 19,000 ชม. โดยกลุ่มคนที่สามารถใช้พลังงานที่ผลิตได้อย่างคุ้มค่าที่สุด คือ กลุ่มที่มีพฤติกรรมอยู่บ้านเป็นส่วนใหญ่ และใช้ไฟฟ้าในเวลากลางวันมาก ซึ่งในที่นี้จะเป็นกลุ่มที่ประกอบอาชีพอิสระ ทำให้ตลอด 10 ปีที่ใช้ไฟ ไม่ต้องเสียเงินในช่วงเวลาดังกล่าว ที่มีอัตราค่าไฟอยู่ที่ 4 บ. / หน่วย และเพิ่มขึ้น 2% ในทุกๆ ปี เมื่อคิดเป็นตัวเงิน สามารถประหยัดไปได้ถึง 122,000 บ. นอกจากนี้ การที่เข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ทำให้สามารถขายไฟส่วนที่เหลือใช้ได้อีก โดยรวมแล้วได้เงินคืนมา 138,000 บ. จากการอยู่บ้านที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
และหากถ้าพูดในมุมของกลุ่มที่ไม่ค่อยได้อยู่บ้าน อย่างกลุ่มคนทำงานประจำ พบว่ากลุ่มคนเหล่านี้ ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยคุ้มค่าในแง่ของการประหยัดค่าไฟ แต่ยังคงมีรายได้ที่มาจากการทำสัญญาซื้อขายไฟตลอดระยะเวลาทำสัญญา โดยสามารถขายไฟในช่วงเวลาที่ไม่อยู่บ้าน ในอัตรา 1.68 บ. / หน่วย รวมได้เงินกลับมาจากการติดตั้งระบบ อยู่ที่ 103,000 บ.
ซึ่งจากตารางข้างต้น อาจสามารถสรุปได้ว่า กลุ่มคนที่ได้รับความคุ้มค่าในการใช้ไฟตลอดระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการโซลาร์ภาคประชาชนมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มคนทำงานอิสระ รองลงมาเป็นบ้านที่อยู่ด้วยกัน 3GENS และสุดท้ายเป็นกลุ่มคนที่ทำงานนอกบ้าน
 

ผลตอบแทน เมื่อคิดตลอดช่วงอายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์

โดยปกติแล้ว แผงโซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 25 ปี ซึ่งหลังจากหมดระยะที่ทำสัญญาขายไฟฟ้าไปแล้ว จะมีการซื้อขายไฟฟ้าต่อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับนโยบายของทางรัฐบาลในช่วงเวลานั้นๆ แต่ตัวบ้านที่ติดตั้งยังคงสามารถใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงเวลากลางวันได้ปกติ จนกว่าแผงจะหมดอายุการใช้งาน
ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จาก Solar Rooftop กับพฤติกรรมการใช้ไฟในช่วงเวลาดังกล่าว จะสรุปได้ว่า กลุ่มคนที่ใช้พลังงานที่ผลิตได้คุ้มค่า คือ กลุ่มที่ทำงานอยู่บ้าน และกลุ่มที่อยู่อาศัย 3GENS ส่วนกลุ่มที่สามารถขายไฟฟ้าคืนให้กับทางภาครัฐได้มากที่สุด คือ กลุ่มคนทำงานนอกบ้าน ทั้งนี้ความคุ้มทุนที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมในการใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวันเป็นหลัก เพราะค่าไฟที่จ่ายให้รัฐ ต่อหน่วย (ประมาณ 4 บ. ขึ้นไป) สูงกว่าที่รัฐซื้อจากประชาชน (1.68 บ.)
 

ซื้อบ้านกับเสนา พร้อมรอรับเงินจากโครงการโซลาร์ภาคประชาชน

  • โครงการที่มาพร้อมระบบโซลาร์เซลล์ และสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากโครงการโซลาร์ภาคประชาชนในปัจจุบัน เป็นโครงการแนวราบ ทั้งหมด 6 โครงการด้วยกัน ซึ่งทางเสนาคาดว่าจะมีกำลังผลิตเบื้องต้นรวม 394.40 กิโลวัตต์เลยทีเดียว สามารถแบ่งประเภทโครงการเป็น 2 ประเภท คือ
  • 1. บ้านเดี่ยว 4 โครงการ (2 kWp)
  •   - เสนาพาร์คแกรนด์ รามอินทรา
  •   - เสนาพาร์ควิลล์ รามอินทรา - วงแหวน
  •   - เสนาวิลล์ บรมราชชนนี - สาย5 (ศาลายา)
  •   - เสนาแกรนด์โฮม รังสิต - ติวานนท์
  • 2. อาคารพาณิชย์ 2 โครงการ (3.5 kWp)
  •   - เสนาช้อปเฮ้าส์ พหลโยธิน - คูคต
  •   - เสนาช้อปเฮ้าส์ บางแค - เทอดไท
 

Sena 360 Service แอปเดียวจบทุกเรื่องภายในบ้าน

  • นอกจากนี้ ผู้ที่ซื้อบ้านจากเสนา ยังสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SENA 360 Service ที่ได้รับรางวัลและประกาศนียบัตร ความสามารถทางนวัตกรรมและองค์กรนวัตกรรมยอดเยี่ยม สาขา บริการ (Innovative Organization: Service) เพื่อติดต่อกับเสนาทางช่องทางออนไลน์ได้ตลอด 24 ชม. ซึ่งการันตีได้ถึงความใส่ใจในบริการหลังการขาย
  • ภายในแอป สามารถดูค่าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตได้แบบ Realtime พร้อมปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สามารถลดได้ จากการใช้พลังงานสะอาด ผ่านเมนูชื่อ Solar Service รวมถึงมีบริการอื่นๆ อีกมากมายที่ทางเสนาได้รวมไว้ ตั้งแต่ติดต่อกับนิติบุคคล จ่ายค่าส่วนกลาง แจ้งซ่อม จนไปถึงมีบริการรับฝากขาย เช่าอีกด้วย ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกบ้านสุดๆ
 

จะดีแค่ไหนถ้าเราสามารถผลิตพลังงานใช้เองภายในบ้านได้ ?

พบกับโครงการแนวราบจาก SENA Development

ผู้นำด้านการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในโครงการ

คลิก Link ด้านล่าง เพื่อลงทะเบียนรับสิทธิ์ก่อนใคร

www.sena.co.th

Content Creator
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

Condo Database  

Image Shortcut
Image Shortcut
ให้เราช่วยคุณหาคอนโดที่ใช่
REAL DATA รวบรวมคอนโดฯ ในกรุงเทพ นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบครบถ้วน แผนที่ที่ง่ายต่อการค้นหา รวมถึงมีราคาตลาด ยอดขายที่น่าเชื่อถือและบทความวิเคราะห์เชิงลึก ทั้งในเรื่องความน่าอยู่และน่าลงทุน

REAL DATA  

 (222)
 (318)
 (388)
 (29)
 (11)
 (4)
 (19)
 (199)
 (54)
 (29)
 (6)
 (5)
 (9)
 (51)
 (9)
 (34)
 (27)
 (9)
 (9)
 (181)
 (85)
 (110)
 (106)
 (41)
 (17)
 (45)
 (24)
 (41)
 (19)
 (18)
 (13)
 (36)
 (13)
youtube-icon instagram-icon line-icon tiktok-icon